การพัฒนาเทคนิค CRISPR (แก้ไขยีน) ที่แม่นยำมากขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

          CRISPR (การแก้ไขยีน) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ที่นักชีววิทยาโมเลกุลใช้ในการแก้ไขยีน

         อย่างไรก็ตามในระบบของการแก้ไขยังขาดส่วนสำคัญหนึ่งส่วน นั่นคือ สวิตช์ หรือตัวปิดเปิด ซึ่งหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นก็ไม่มีสวิตช์สำหรับปิดกระบวนการนั้น ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จาก University of California ที่ Berkeley จึงได้ทำการปรับปรุงระบบ

         นักวิจัยได้ใช้การเปลี่ยนรูปแบบวงกลมและจัดระเบียบ CRISPR ใหม่ ให้เป็นเครื่องมือที่ตั้งโปรแกรมได้และให้ชื่อว่า ProCas9 ซึ่งสามารถอยู่ภายในเซลล์ได้อย่างเงียบ ๆ (ไม่ทำงาน) จนกว่าจะมีปัจจัยภายนอก เช่น มีการติดเชื้อไวรัสซึ่งจะไปทำให้ ProCas9 เปิดการทำงานจึงเหมือนกับการรักษาความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง ที่จำกัดความสามารถในการแก้ไขยีนของ CRISPR ให้เหลือเพียงส่วนของเซลล์ย่อยเพื่อให้มั่นใจในการแก้ไขยีนที่แม่นยำ ProCas9 อาจตอบสนองต่อตัวแปรที่กำหนดไว้เบื้องหน้า (Boolean input) เช่น “และ” หรือ “ไม่”

         ดังนั้น ProCas9 จะเปิดใช้งานเมื่อตรงกับชุดคำสั่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่นคำสั่งที่บอกว่า “เซลล์ติดเชื้อ” นำไปสู่การตอบสนองต่อ “เสียสละเซลล์” ซึ่งทำให้ CRISPR เปิดใช้งานเพื่อตัดยีนที่มีความสำคัญต่อการอยู่รอด

         ครับ นักวิทยาศาสตร์ คิดกันมากถึงขนาดนั้น ในขณะที่บ้านเราคิดจะหาสารทดแทนสารเคมี ด้วยแนวคิดเดิมๆ

         อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.berkeley.edu/2019/01/10/giving-cas9-an-on-switch-for-better-control-of-crispr-gene-editing