สนับสนุนให้ใช้พืชบีทีเพื่อทดแทนการแบนสารเคมีเกษตร

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

          พื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมให้ต้านทานต่อแมลงศัตรู ที่มีสารพันธุกรรม (ยีน) จากแบคทีเรียที่อยู่ในดิน ที่มีชื่อเรียกว่าBacillus thuringiensis (Bt) จะมีมากกว่าหนึ่งพันล้านเอเคอร์ทั่วโลก

         ยีน Bt(บีที) จะสร้างโปรตีนที่มีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง ทำให้เกษตรกรสามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้โดยไม่ต้องพ่นสารเคมีที่เป็นอันตราย แต่การใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมนี้ (พืชบีที) ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายตรงข้าม หรือกลุ่มเอ็นจีโอ ที่กล่าวว่า พืชบีที อาจมีผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจต่อสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้เป็นเป้าหมายรวมถึงแมลงที่เป็นประโยชน์ และการกล่าวเช่นนี้ ทำให้นำไปสู่ข้อกล่าวหาว่าพืชบีทีสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ

จากการศึกษาอย่างครอบคลุมที่ลงพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ในวารสาร Biological Control สรุปว่าในอีก 20 ปีขึ้นไป จะมีการปลูกพืชบีทีมากกว่าหนึ่งพันล้านเอเคอร์ โดยในปี 2560 เพียงปีเดียวมีพื้นที่ปลูกพืชบีที 247 ล้านเอเคอร์ และไม่พบผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งในต่อสายพันธุ์ที่ไม่ได้เป็นเป้าหมายในความเป็นจริง

          เมื่อพืชบีทีสามารถใช้ทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชเป้าหมายได้ ก็จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ

เทคโนโลยีบีที ได้ถูกนำไปใช้ในข้าวโพดไร่ ฝ้ายและถั่วเหลือง และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก พืชบีทีเหล่านี้มีปลูกแพร่หลายทั้งในอเมริกาและเอเชีย แต่มีปลูกน้อยกว่ามากในยุโรปและแอฟริกา

แปลงข้าวโพดบีทีในสหรัฐอเมริกา

         ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกามีปลูกร้อยละ 80 ของข้าวโพดทั้งหมด และฝ้ายมีปลูกร้อยละ 85 ที่มีลักษณะต้านทานแมลงศัตรู ในขณะที่ข้าวโพดในโปรตุเกสมีปลูกเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น และร้อยละ 6 ของข้าวโพดที่ปลูกในโปรตุเกสมียีนบีที

         มะเขือม่วงบีที หรือที่รู้จักกันในชื่อ brinjal ทั่วทั้งเอเชียใต้ได้ถูกนำเข้ามาปลูกในบังคลาเทศเมื่อห้าปีก่อนและปัจจุบันมีเกษตรกรมากกว่า 27,000 รายทั่วประเทศ ปลูกมะเขือม่วงบีที

         แสดงให้เห็นว่าสามารถลดการพึ่งพาในการใช้ยาฆ่าแมลงของเกษตรกรชาวบังคลาเทศเรื่องราวความสำเร็จของบังคลาเทศ ได้สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ระดับโลกของการศึกษาการควบคุมทางชีวภาพซึ่งนักวิจัยในสวิตเซอร์แลนด์และสหรัฐอเมริการวมถึงนักกีฏวิทยานาย Anthony Shelton จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ได้มีส่วนร่วมในความสำเร็จนี้

           จากการศึกษานี้ สรุปไว้ว่า“พืชบีทีมีประสิทธิภาพสูงมากในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่สำคัญเช่น หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดหนอนเจาะสมอฝ้ายและหนอนเจาะยอดที่ทำลายผลผลิตของ brinjal

           ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังยืนยันในผลการวิจัยที่เผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าพืชบีทีที่ต้านทานแมลงศัตรู ยังสร้างผลกระทบที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรที่ไม่ได้ปลูกพืชบีที

                                                                    แปลงข้าวโพดบีทีในฟิลิปปินส์

          “การปลูกพืชบีทีขนาดใหญ่ในบางส่วนของโลกได้นำไปสู่การปราบปรามประชากรศัตรูพืชในระดับพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งเกษตรกรที่นำเทคโนโลยีมาใช้และไม่ใช้”

             ในบทสรุปของผลการศึกษาอย่างครอบคลุมนี้นักวิจัยเขียนว่า “พืชบีทีได้ให้การควบคุมทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งแมลงศัตรูพืชที่เป็นเป้าหมายและไม่ใช่เป้าหมายและลดความต้องการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรู”

             และ“พืชบีที หรือพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานต่อแมลงศัตรู ไม่เพียงแต่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์อีกด้วย”

            ครับ ในขณะที่ประเทศไทยกำลังถูกกดดันให้แบนสารเคมีเกษตร จากกลุ่มเอ็นจีโอ และก็จากกลุ่มเดียวกันนี้ ที่กดดันไม่ให้รัฐบาลอนุญาตให้เกษตรกรปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม มองไม่เห็นอนาคตของเกษตรกรไทยเลยครับ

             อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://allianceforscience.cornell.edu/blog/2019/02/one-billion-acres-bt-crops-zero-unintended-consequences/?preview=true