เทคนิค CRISPR ช่วยสร้างพันธุ์พืชใหม่ที่ต่างจากจีเอ็มโอ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

          ถ้าคุณได้อ่านรายงานที่น่าตกใจของทารกที่ถูกแก้ไขยีน คุณอาจจะรับรู้เพียงจุดประสงค์เดียวของเทคนิค CRISPR ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางพันธุกรรมที่ช่วยให้นักชีววิทยาสามารถแก้ไขดีเอ็นเอ(DNA)ที่กำลังเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับจีโนมมนุษย์

         ในปีที่ผ่านมา ที่ครอบคลุมการใช้เทคนิค CRISPR ฉัน (ผู้เขียน) ได้ตระหนักว่า มีการส่งสัญญาณที่ดี เหมือนเป็นคำสัญญาของเทคโนโลยีการแก้ไขยีน ที่สามารถมองเห็นได้ในห้องทดลองของนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังสร้างพันธุ์พืชใหม่

         ด้วยข้อโต้แย้งทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอ คุณอาจสงสัยว่าเทคนิค CRISPR นั้น มีความแตกต่างจากเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือไม่

        นักพันธุศาสตร์พืชที่ชื่อ Yi Li จากมหาวิทยาลัยคอนเนตทิคัต(University of Connecticut) ให้ความเห็นว่าความแม่นยำของเทคนิค CRISPR คือสิ่งที่ทำให้แตกต่างจากจีเอ็มโอ (GMOs) เพราะไม่มียีนจากสิ่งมีชีวิตอื่นถูกเพิ่มเข้าไปในพืช Yi Li ใช้เทคนิค CRISPR เพื่อสร้างต้นส้มที่ทนทานต่อโรคกรีนนิ่ง ในพันธุ์ Huanglongbing ซึ่งเป็นพืชตระกูลส้มในรัฐฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา และในส่วนอื่น ๆ ของโลก

         นักโรคพืช Rebecca Mackelprang แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์(University of California, Berkeley) เสนอว่า การแก้ไขด้วยเทคนิค CRISPR เป็นการเลียนแบบการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่า เทคโนโลยีชีวภาพนี้สามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายของการทำเกษตรอินทรีย์

       นอกจากนี้ Rebecca Mackelprang ยังอธิบายว่าเทคนิค CRISPR เป็นวิธีการสำหรับนักวิจัยทางวิชาการในการเข้าสู่โลกที่ถูกครอบงำโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเกษตร

       ครับ นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ด้วยตัวเทคโนโลยี CRISPR เป็นเทคนิคในการแก้ไขยีนที่เลียนแบบมาจากธรรมชาติ ไม่เหมือนกับเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ที่ต้องถ่ายฝากยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น คำถามคือว่า จำเป็นต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวดเลยหรือ?

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://allianceforscience.cornell.edu/blog/2019/01/crispr-isnt-just-editing-human-embryos-also-works-plants-bugs-5-essential-reads/