“แมลงพาราสิต” ผู้พิชิตเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

           การควบคุมทางชีวภาพในพื้นที่เพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถชะลอการตัดไม้ทำลายป่า และลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ นี่คือสิ่งที่ทีมงานระดับนานาชาติได้เปิดเผยออกมา ซึ่งประกอบด้วย นักกีฏวิทยา นักชีววิทยาด้านการอนุรักษ์ นักนิเวศวิทยาด้านการเกษตร และนักภูมิศาสตร์ ผลของการศึกษาครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ในส่วนของชีววิทยาการสื่อสาร วารสาร Nature

          การควบคุมทางชีวภาพโดยใช้แมลงต่างถิ่นที่เป็นชนิดพันธุ์รุกราน (invasive species) มักถูกมองว่าเป็นการปฏิบัติที่มีความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็สามารถได้ผลผลิตและบรรเทาแรงกดดันด้านการเกษตรที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่มีส่วนช่วยอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งบทความนี้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกของกระบวนการควบคุมทางชีวภาพที่ดำเนินการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแปลงเพาะปลูกมันสำปะหลัง

           เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง(cassava mealybug) พบในประเทศไทยในปี 2552 ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงเกือบร้อยละ 20 ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังเพิ่มขึ้นอย่างมากและมีการขยายตัวของพื้นที่ปลูกเข้าไปในเขตพื้นที่ป่า ทำให้อัตราการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าและเพิ่มขึ้นถึงหกเท่าในประเทศเพื่อนบ้านในปี 2010

           เจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ใช้ตัวต่อ Anpyruslopezi (Hymenoptera)ซึ่งเป็นพาราสิต (สิ่งมีชีวิตที่อาศัยผู้อื่นหรือเซลล์ชนิดอื่นเป็นที่พักอาศัยและแหล่งอาหาร และบาง ครั้งทำร้ายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์นั้นหรือเซลล์ภายในจนเจ็บป่วยหรือถึงกับเสียชีวิต) ทำให้ความเสียหายที่เกิดจากเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังลดลง พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังลดลงและการตัดไม้ทำลายป่าช้าลง

          Kris Wyckhuys นักนิเวศวิทยาเกษตรที่มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (ออสเตรเลีย) และ IPP-CAAS (จีน) และผู้ประสานงานการศึกษา ขอขอบคุณภาพถ่ายดาวเทียมแบบเรียลไทม์ที่รวมเข้ากับการวิเคราะห์เชิงสถิติทำให้เราสังเกตการตัดไม้ทำลายป่าที่ลดลงร้อยละ 31-95”

           ครับ เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช การลดพื้นที่การตัดไม้ทำลายป่า น่าจะเป็นผลพลอยได้ครับ!

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cirad.fr/en/news/all-news-items/press-releases/2019/biological-control-can-limit-deforestation-and-biodiversity-loss