โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
แน่นอนว่า อาจมีใครบางคนที่ปรุงอาหารด้วยกุ้งกุลาดำ มีความคิดว่า“ การทำอาหารคงจะง่ายกว่านี้ถ้ามีใครซักคนดัดแปลงพันธุกรรมมะเขือเทศให้มีรสเผ็ด”
หลายท่านอาจจะคิดว่าจะเป็นไปได้หรือ แต่จากรายงานที่ได้มีการเผยแพร่ ซึ่งทำโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ในบราซิลและไอร์แลนด์ ได้แสดงความคิดเห็นที่ชี้ชัดว่า เทคนิคใหม่ที่ใช้ในการแก้ไขยีน (new gene editing techniques) นั้นจะทำให้ยีนของมะเขือเทศแสดงออกซึ่งรสเผ็ดได้ง่ายขึ้น แต่ทีมนักวิจัยยังทำให้มะเขือเทศเป็นได้มากกว่าซอสมะเขือเทศรสเผ็ด
Agustin Zsögön จาก Universidade Federal de Viçosa ในบราซิลบอกกับ Gizmodoว่า “มีแนวความคิดที่จะใช้มะเขือเทศให้เป็นเสมือนโรงงานทางชีวภาพ ที่มีศักยภาพในการประยุกต์ใช้ทั้งในอุตสาหกรรมและเภสัชกรรม”
โมเลกุลที่อยู่เบื้องหลังความเผ็ดนั้นเรียกว่า capsaicinoids และผลิตโดยพริกขี้หนูซึ่งสารนี้ยังถูกใช้เป็นยาแก้ปวดที่รู้จักกันดีและมีความเสี่ยงต่ำพบในครีมสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบและใช้ในสเปรย์พริกไทยเช่นกัน
พริกเป็นพืชสกุลเดียวที่ผลิตโมเลกุลเหล่านี้ตามธรรมชาติ แต่การปลูกพริกมีการปฏิบัติที่ค่อนข้างยุ่งยากในทางกลับกันมะเขือเทศเป็นพืชที่มีการปฏิบัติในการเพาะปลูกที่ง่ายกว่า นอกจากนี้ยังมีการศึกษามากมายทางด้านการดัดแปลงทางพันธุกรรมและที่สำคัญที่สุด มะเขือเทศยังมีกลไกในการสร้าง capsaicinoids
แทนที่จะถ่ายฝากยีนใหม่ ๆ ให้กับมะเขือเทศนักวิจัยจะต้องเปิดใช้งานจากยีนที่มีอยู่โดยใช้เครื่องมือแก้ไขยีนเช่น TALENs หรือ CRISPR / Cas9 มะเขือเทศก็จะเป็นโรงงานผลิต capsaicinoids และบริษัทก็ เพียงแค่ทำการตลาดมะเขือเทศรสเผ็ด
ครับ อย่าหยุดคิด อย่ากลัวเทคโนโลยี และพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นครับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://gizmodo.com/lets-make-tomatoes-spicy-with-genetic-engineering-scie-1831547833