โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ในช่วง 38 ปีที่ผ่านมา ประเทศเคนยาจะมีเกษตรกรที่ยกเลิกการปลูกฝ้ายปีละอย่างน้อย 4,210 รายเนื่องจากได้รับผลตอบแทนต่ำ รวมทั้งมีการนำเข้าผ้าสำเร็จรูปราคาถูกจากประเทศจีนและอินเดีย
กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือมีเกษตรกรที่เลิกปลูกฝ้ายประมาณ160,000 คนหรือร้อยละ 80 ของเกษตรกรประมาณ 200,000 คนที่ทำไร่ฝ้ายในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมการผลิตฝ้ายอยู่ในจุดสูงสุด
การขับเคลื่อนของภาคการผลิตที่มีรายงานออกมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ จะเห็นได้ว่า ประเทศเคนยาได้กลายเป็นผู้นำเข้าฝ้าย100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการผลิตฝ้ายในปัจจุบันไม่สามารถสนองต่อความต้องการใช้ในประเทศ
ในเดือนมกราคมปี 2561รัฐบาลได้ประกาศนโยบายงบประมาณ จัดทำแผนการขยายพื้นที่เพาะปลูกฝ้าย โดยเพิ่มเป็น 200,000 เฮกตาร์ (1,250,000 ไร่) จาก 29,000 เฮกตาร์ (181,250 ไร่) ในปัจจุบัน ให้ได้ก่อนสิ้นปี 2561
อย่างไรก็ตาม2 เดือนถึงสิ้นปี ยังไม่มีความชัดเจนว่าแผนดังกล่าวจะเป็นไปได้ โดยในฐานะประธานาธิบดี นายUhuru Kenyatta ได้กล่าวสุนทรพจน์ในวัน Mashujaa ประกาศให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องได้คิดหาวิธีการฟื้นฟูอุตสาหกรรมนี้
นาย Uhuru กล่าวว่า “ ฉันได้สั่งให้กระทรวงสาธารณสุขเกษตรและการค้าอุตสาหกรรมและสหกรณ์ทำงานร่วมกันและสร้างกลไกที่รวดเร็วในการฟื้นฟูการผลิตฝ้าย – รวมถึงความเป็นไปได้ของการปลูกฝ้ายด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ หรือฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม”
ในการแถลงนโยบายงบประมาณที่ประกาศโดยกระทรวงการคลังเมื่อเดือนมกราคม2561 รัฐบาลจะอนุญาตให้ทำการผลิตฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อสร้างงานเพิ่มขึ้น 50,000 ตำแหน่ง
ครับ แม้ว่าเป้าหมายการผลิตฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมยังไม่ประสบผล แต่อย่างน้อยก็ยังมีนโยบายที่จะผลักดันให้ฝ้ายกลับมาเป็นพืชเศรษฐกิจหลักในอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศ สำหรับประเทศไทย ไม่เคยมีนโยบายเช่นนี้ครับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.the-star.co.ke/news/2018/10/22/low-returns-hurt-cotton-farming_c1838386