ทำไม่เกษตรกรต้องการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

           พืชดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ผลิตโดยใช้วิธีการทางพันธุวิศวกรรม และนับตั้งแต่การพัฒนาของวิธีการทางพันธุวิศวกรรมมามากกว่า 20 ปี ได้ส่งผลให้พืชดัดแปลงพันธุกรรมกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการเพาะปลูกในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ เมื่อพืชดังกล่าวได้รับการพัฒนาและอนุมัติให้ปลูกเชิงพาณิชย์ เกษตรกรจำนวนมากได้นำไปใช้อย่างรวดเร็ว ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น และอะไรในพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่เกษตรกรให้ความสนใจ

             คำตอบแรกคือการประหยัดต้นทุนและความสะดวกในการผลิต ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการผลิตของเกษตรกรโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เกษตรกรจึงมักมองหาแนวทางการผลิตและเทคโนโลยีเพื่อช่วยลดต้นทุน ซึ่งรวมถึงเทคนิคการผลิตแบบใหม่พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงขึ้นและการปฏิบัติที่ช่วยให้เกษตรกรได้ลดค่าใช้จ่าย ที่รวมถึงค่าสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีกำจัดวัชพืชนั่นคือสิ่งที่พบเห็นได้จากพืชดัดแปลงพันธุกรรม

           บทความทางวิทยาศาสตร์ในปีพ. ศ. 2561 ได้ทบทวนการค้นพบจากบทความทางวิทยาศาสตร์จำนวน 6,000 เรื่องในช่วงเวลา 21 ปี ผู้เขียนรายงานว่า ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมสามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึงร้อยละ 10 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการลดการสูญเสียจากการทำลายของแมลงศัตรูลงได้ร้อยละ 60

           การให้โอกาสในการผลิตข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อเพิ่มผลผลิตอีกร้อยละ10 โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจึงเป็นเหตุผลที่เกษตรกรจะเลือกปลูกข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม

        นี่ไม่ได้เป็นเพียงความจริงสำหรับข้าวโพดในสหรัฐฯ แต่เป็นจริงในประเทศอื่น ๆ และกับพืชอื่น ๆ ด้วย

        ครับ เกษตรกรประเทศไทยก็ต้องการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม แต่รัฐบาลยังไม่อนุญาตครับ!

         อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.canr.msu.edu/news/why-many-growers-are-quick-to-adopt-genetic-modification-technology