” CRISPR” สุดยอดเทคนิคที่ใช้ในการแก้ไขยีนแห่งยุค

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

Merry Christmas 2019

        วันนี้เริ่มต้นที่ Ground cherry หรือโทงเทงฝรั่ง มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Physalispruinosaเป็นไม้ผลที่มีผลเป็นรูปลักษณะเหมือนโคมไฟที่มีเปลือกบางและมีความโดดเด่นของรูปลักษณ์

        เนื้อของผลเหมือนเนื้อมะเขือเทศ มีรสชาติคล้ายกับผลกีวี และดูเหมือนว่าจะมีความต้องการมากในตลาดระหว่างประเทศ แต่โทงเทงฝรั่งยังขาดลักษณะในการให้ผลิตที่สำคัญ ดังนั้นการผลิตจึงยังคงมีอย่างจำกัด

       อย่างไรก็ตามสถานะภาพของผลไม้นี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงในไม่ช้า เนื่องจาก ขณะนี้นักวิจัยในห้องปฏิบัติการของ Joyce Van Eck ที่สถาบัน Boyce Thompson (BTI) ได้เริ่มต้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อทำให้ โทงเทงฝรั่ง เหมาะสำหรับเกษตรกรและชาวสวนที่ต้องการปลูก

        ในห้องปฏิบัติการ นักวิจัยได้ใช้เทคนิคการแก้ไขยีน CRISPR เพื่อทำความเข้าใจว่ายีนแต่ละตัวทำงานกันอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งยีนที่อาจช่วยปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตของพืชคุณภาพผลไม้และปริมาณสารอาหารแม้ว่างานวิจัยส่วนใหญ่ของ Van Eck จะเน้นไปที่มันฝรั่งและมะเขือเทศ

        แต่…ศักยภาพในการพัฒนาอย่างรวดเร็วใน โทงเทงฝรั่งได้ดึงดูดความสนใจเพราะเป็นโอกาสที่จะใช้บทเรียนที่เรียนรู้จากพืชอื่น ๆ ในตระกูล Solanaceae

        “โปรแกรมการวิจัยของ Dr. Van Eck ทำให้สถาบัน BTI ได้เลื่อนมาอยู่ในระดับแนวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ที่น่าตื่นเต้นนี้”
Paul Debbie ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Boyce Thompson Institute กล่าว

      เขา กล่าวอีกว่า “นักวิจัยของ Dr. Van Eck ไม่เพียงใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ แต่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกลไกที่พืชมีวิวัฒนาการมานับพันปี สิ่งนี้สามารถส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการเกษตรในขณะที่เราก้าวไปสู่อนาคตที่ท้าทาย”

     ครับ ถ้าเทคนิคการแก้ไขยีน หรือ gene editing ไม่ถูกจัดกัดด้วยกฎระเบียบที่เข็มงวด เราคงจะได้เห็นพันธุ์พืชใหม่ ๆ ที่ถูกนำมาปลูกเป็นการค้ามากขึ้น ในเร็ว ๆ นี้ แต่คงไม่ใช่ในประเทศไทยแน่นอน!

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://allianceforscience.cornell.edu/blog/2018/12/crispr-approach-better-crops/