มีแล้ว!พันธุ์เกาลัดดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานโรคไหม้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

        มีการศึกษาชิ้นใหม่ 2 เรื่องที่เกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของต้นเกาลัดพันธุ์อเมริกัน ที่ได้รับการถ่ายฝากยีนหรือ “เกาลัดดัดแปลงพันธุกรรม” (จีเอ็มโอ) 

        ผลการศึกษาทั้ง 2 เรื่องแสดงให้เห็นว่า ไม่มีผลเสียหายต่อการงอกของเมล็ด ไม่มีผลเสียหายต่อเชื้อราที่เป็นประโยชน์
และไม่มีผลเสียหายต่อกบตัวอ่อนที่เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ของคุณภาพสิ่งแวดล้อม

          ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์นี้ ทำโดยนักวิจัยจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและป่าไม้แห่ง New York (ESF) ซึ่งได้ทำงานในเรื่องนี้มานานถึง 29 ปี เพื่อฟื้นฟูพันธุ์เกาลัดที่มีคุณค่าหลังจากถูกทำลายโดยโรคไหม้ในศตวรรษที่ 20

          ตอนนี้นักวิจัยได้พัฒนากระบวนการในการปลูกต้นที่ทนต่อโรคไหม้ได้ และนักวิทยาศาสตร์ของ ESF ได้หันความสนใจไปที่การประเมินว่าต้นไม้เหล่านี้จะมีผลต่อสภาพแวดล้อมอย่างไร

        ศาสตราจารย์ William Powell ซึ่งเป็นผู้ร่วมวิจัยและผู้อำนวยการโครงการวิจัยและฟื้นฟูเกาลัดอเมริกันของ ESF กล่าวว่า
เนื่องจากเราได้ทำการเปลี่ยนแปลงในจุดเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับวิธีการปรับปรุงพันธุ์ตามปกติ เราจึงไม่ได้คาดหวังว่าจะได้เห็นความแตกต่างระหว่างต้นเกาลัดป่าที่อ่อนแอต่อโรคไหม้และต้นเกาลัดอเมริกันที่ทนต่อการทำลายต่อโรคไหม้

        นอกจากความสามารถที่พันธุ์เกาลัดดัดแปลงพันธุกรรมจะอยู่ร่วมกับเชื้อโรคที่รุกรานได้ซึ่งผลจากการศึกษานี้ ได้สนับสนุนข้อสรุปดังกล่าว "เทคนิคที่ทาง ESF ใช้

         คือการทำให้เชื้อโรคไม่ทำงาน โดยใช้เอนไซม์กำจัดสารพิษซึ่งพบอยู่ในพืชหลายชนิด เมื่อยีนตัวเดียวนี้ถูกเพิ่มเข้าไปในจีโนมของต้นเกาลัดแล้ว ต้นเกาลัดดังกล่าวสามารถต้านทานการเข้าทำลายของโรคไหม้ได้

        ครับ เป็นหนึ่งแนวทางในการพัฒนาพันธุ์พืชให้ต้านทานต่อโรค ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในหลาย ๆ
ประเทศ ยกเว้นประเทศไทยครับ!

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.esf.edu/communications/view2.asp?newsID=7402