พีชจีเอ็มโอช่วยกำจัดสารเคมี-กำจัดศัตรูพืชออกจาก สวล.ได้ถึง6 ล้านตัน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

Dr. Elizabeth Hood ได้ศึกษาชีววิทยาของพืชมาเป็นเวลา 37 ปี โดยเน้นในเรื่องการผลิตเอนไซม์เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ชีวภาพด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เธอมีผลงานที่ลงพิมพ์มากกว่า 80 เรื่อง รวมทั้งสิทธิบัตรฉบับ และเป็นวิทยากรที่ได้รับเชิญจากทั่วโลก

Dr. Hood ได้รับปริญญาโทในสาขาพฤกษศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอคลาโฮมา และปริญญาเอกทางชีววิทยาพืช จากมหาวิทยาลัยวอชิงตันในเซนต์หลุยส์ต่อไปนี้คือความคิดเห็นของเธอ

“ครั้งแรกที่ฉันได้ยินเกี่ยวกับพันธุกรรมวิศวกรรม เมื่อครั้งที่ไปเยี่ยมสถานศึกษาที่จบออกมา ฉันรู้สึกตื่นเต้นมากเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะสามารถเพิ่มลักษณะเฉพาะของพืช ที่จะช่วยให้พืชนั้นต้านทานต่อแมลงศัตรู โรคและวัชพืชสำหรับฉันแล้วนี่เป็นทางออกที่สมบูรณ์แบบสำหรับแก้วิกฤติในการเพาะปลูกที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ไม่เพียงเท่านั้น ยังรวมไปถึงสุขภาพของมนุษย์ ซึ่ง การใช้สารเคมีที่น้อยลงจะทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น”

พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีลักษณะใหม่ ที่ทำให้พืชทนทานต่อสภาวะแวดล้อมได้นั้น ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยวิธีทางพันธุวิศวกรรม และได้ช่วยให้อุตสาหกรรมมะละกอในฮาวายยังคงดำเนินอยู่ได้

อีกตัวอย่างหนึ่งของ พันธุวิศวกรรม ที่สามารถช่วยสิ่งแวดล้อม เกษตรกรและผู้บริโภคได้โดยการควบคุมแมลงศัตรูในเกษตรอินทรีย์ก็ได้ใช้แบคทีเรียเพื่อต่อสู้กับแมลงศัตรู โดยการโรยแบคทีเรียบนใบของพืชแต่พันธุวิศวกรรมได้พัฒนาต่อ โดยการเอายีนของแบคทีเรีย ที่เรียกว่ายีนบีที ซึ่งมีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรู ไปถ่ายฝากไว้ในต้นพืชโดยตรง

นักวิทยาศาสตร์สามารถทำให้พืชต้านทานต่อนักล่าที่เป็นอันตรายที่สุด ยีนบีทีในข้าวโพดฝ้ายถั่วเหลือง และมะเขือยาว เช่นเดียวกับลักษณะอื่น ๆ  ได้ช่วยกำจัดสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชออกไปจากสิ่งแวดล้อมได้มากถึง6 ล้านตัน.ซึ่งเราทั้งหมดเป็นผู้ชนะ – เกษตรกรผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

ครับ ลองรับฟัง แล้วเอาไปพิจารณาก็ดีครับ!

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://medium.com/@gmoanswers/you-may-not-like-gmos-but-our-planet-sure-does-a6b310565b02