โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การใช้ระบบ refuge (การปลูกพืชปกติบางส่วน) ในการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรู เป็นยุทธศาสตร์ทั่วไปที่ใช้เพื่อชะลอการพัฒนาความต้านทานของแมลงศัตรูต่อพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ปรับปรุงใหม่
แต่เนื่องจากขนาดพื้นที่ในการเพาะปลูกของเกษตรกรในประเทศจีนมีขนาดเล็กจึงน่าจะมีปัญหาในการกำหนดให้เกษตรกรต้องใช้ระบบ refuge ทีมนักวิจัยชาวจีนจึงใช้ยีนที่มีหลายรูปแบบในการแสดงออกมาซ้อนกันเพื่อจัดการกับการพัฒนาความต้านทานของแมลงศัตรู
นักวิจัยได้พัฒนาข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่แสดง fusion protein ซึ่งเป็นโปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นมาจากการรวมตัวกันของยีนมากกว่า 2 ยีนขึ้นไป
ในกรณีนี้คือ ยีน Cry1Ab และ Vip3A และจากการวิเคราะห์ก็แสดงให้เห็นว่า fusion protein มีลักษณะคล้ายกับการรวมกันของโปรตีน Cry1Ab และ Vip3A
ข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่มี fusion protein จะมีความต้านทานสูงต่อโรคพืช 2 ชนิด ได้แก่ หนอนเจาะลำต้น (asiatic rice borer) และหนอนม้วนใบ (rice leaf folder) โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านลักษณะทางการเกษตรอื่น ๆ เมื่อเทียบกับข้าวที่ไม่ใช่ข้าวดัดแปลงพันธุกรรม
จากข้อมูลที่ได้พบว่าข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่มีการรวมตัวกันของโปรตีน สามารถนำไปใช้ในการควบคุมศัตรูพืชของข้าวในประเทศจีน
ครับ หลาย ๆ ประเทศ ก็พยายามใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนาพันธุ์ข้าว แต่บ้านเรายังติดอยู่ในเทคโนโลยีเดิม ๆ แล้วเราจะสู้ประเทศอื่นได้อย่างไรครับ?
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41598-018-34104-4