โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยของ Agricultural Research Service (ARS) ได้ระบุเครือข่ายยีนและตัวควบคุมยีน ที่ทำให้พืชสามารถควบคุมการส่งไนโตรเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทราบว่า พืชมีการเปลี่ยนเส้นทางส่งไนโตรเจนไปยังส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำนวนไนโตรเจนที่มีอยู่ในดินมีอย่างจำกัด แต่พวกเขายังไม่ได้จำแนกยีนและโปรตีนที่เกิดขึ้นจริงในระบบการควบคุมไนโตรเจนในพืช
Doreen Ware ซึ่งเป็นนักชีววิทยาระดับโมเลกุลของ ARS และทีมงานได้จำแนกโปรตีน 23 ชนิดที่เรียกว่า “ปัจจัยการถอดรหัส” (transcription factorsหมายถึง โปรตีนที่ควบคุมอัตราการถอดรหัสพันธุกรรมจากดีเอ็นเอไปยัง messenger RNA)ซึ่งมีบทบาทเฉพาะในการใช้ไนโตรเจนในพืช Ware ได้ตรวจสอบปัจจัยการถอดรหัสเหล่านี้กลับไปยังยีนแต่ละตัวที่ควบคุมโปรตีนดังกล่าวและส่งต่อไปยังยีนที่แสดงออก ทีมวิจัยยังได้จำแนกยีนและปัจจัยการถอดรหัสที่ช่วยควบคุมลักษณะอื่น ๆ ของการเจริญเติบโตของพืชที่เกี่ยวข้องกับไนโตรเจน
Ware กล่าวว่า ทีมงานและผู้ร่วมงานจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย – เดวิส (UC-Davis) ได้จำแนกเครือข่ายยีนพืชที่นำไนโตรเจนไปยังที่ที่พืชจะได้รับประโยชน์มากที่สุดเมื่อไนโตรเจนมีอย่างจำกัด นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการวิจัยครั้งนี้อาจเป็นหนทางใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์พืชที่ตอบสนองต่อสิ่งต่างๆภายใต้สภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน
ครับ ความเข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ ของพืช จะช่วยให้สามารถปรับปรุงพันธุ์พืชให้ตอบสนองที่ดีต่อสภาพแวดล้อมที่ต้องการได้ อย่าหยุดทำความเข้าใจครับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ars.usda.gov/news-events/news/research-news/2018/scientists