โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ความก้าวหน้าของการพัฒนาอ้อยดัดแปลงพันธุกรรมในอินโดนีเซีย คงพอจำกันได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียได้พัฒนาพันธุ์อ้อยดัดแปลงพันธุกรรมให้มีความหวานสูง และหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ให้การยอมรับว่า อ้อยดังกล่าวมีความปลอดภัยทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของมนุษย์ ล่าสุดกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซีย ได้ให้การรับรองความปลอดภัยด้านอาหารสัตว์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561
รัฐบาลอินโดนีเซียได้อนุญาตให้มีการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเป็นครั้งแรก ซึ่งจะมีการปลูกเชิงการค้าในประเทศเร็ว ๆ นี้ โดยอ้อยดัดแปลงพันธุกรรม eventNXI-4T ที่มียีน betaine นั้น ได้รับการถ่ายฝากโดยใช้ Agrobacterium tumefaciens ซึ่งยีนดังกล่าวจะสร้างสารที่เรียกว่า osmoprotectant(เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลของน้ำ และแรงดันออสโมติกภายในเซลล์กับสิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้)
อ้อยดัดแปลงพันธุกรรมได้รับการพัฒนาโดยความพยายามร่วมกันของ บริษัทน้ำตาลแห่งรัฐ PT Perkebunan Nusantara XI (PTPN XI), Jember University และ Ajinomoto Company อ้อยดัดแปลงพันธุกรรมดังกล่าวสามารถผลิตน้ำตาลได้มากกว่าน้ำตาลปกติร้อยละ 10-30 เมื่อเทียบกับพันธุ์ดั่งเดิมในภาวะแห้งแล้ง
ขั้นตอนต่อไปของผู้พัฒนาคือการวางแผนการผลิตเชิงการค้า เพื่อตอบสนองความต้องการอ้อยและผลิตภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซีย
ครับ ไม่ทราบว่าอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลบ้านเราจะคิดอย่างไร บราซิลเป็นประเทศแรกที่มีการปลูกอ้อยดัดแปลงพันธุกรรมเชิงการค้าไปแล้วครับ !
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ e-mail: catleyavanda@gmail.com.