โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสุภาษิต
ตัวอย่างที่ผ่านมา คือรัฐสิขิม รัฐหนึ่งของอินเดียที่ประกาศว่าจะทำเกษตรอินทรีย์ทั้งรัฐ ปรากฏว่า ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้ไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงประชากรในรัฐ ต้องนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรจากรัฐอื่น ที่ไม่ได้มาจากเกษตรอินทรีย์
อีกหนึ่งตัวอย่าง ของประเทศที่มีนโยบายลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืช นั่นคือ ฝรั่งเศส โดยในปี 2551 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเกษตร โดยเรียกร้องให้มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชลดลงครึ่งหนึ่งและต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวภายในเวลา 10 ปี ซึ่งไม่มีประเทศอื่นที่มีระบบเกษตรกรรมขนาดใหญ่และหลากหลายพยายามที่จะทำอะไรเหมือนที่ประเทศฝรั่งเศสกำลังทำอยู่ (ยกเว้นประเทศไทย ที่มีนโยบาย ลด ละ เลิก)
ตั้งแต่เริ่มใช้นโยบายดังกล่าว รัฐบาลฝรั่งเศสได้ใช้งบประมาณเกือบครึ่งพันล้านยูโรในการดำเนินการตามแผนที่เรียกว่า Ecophytoโดยสร้างเครือข่ายฟาร์มนับพัน เพื่อทดสอบวิธีลดการใช้สารเคมี พัฒนาการเฝ้าระวังศัตรูพืชและโรคพืชและให้ทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีและเทคนิคที่ช่วยลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชรวมทั้งมีการกำหนดภาษีเกี่ยวกับสารเคมีในฟาร์มเพื่อลดการขายและแม้กระทั่งห้ามใช้สารกำจัดศัตรูพืชจำนวนมาก ซึ่งทำให้เกษตรกรหลาย ๆ คนโกรธ
ความพยายามนี้ช่วยลดความต้องการในการใช้สารเคมีได้ในฟาร์มบางแห่ง อย่างไรก็ตาม ในภาพโดยรวม แผนที่เรียกว่า Ecophytoนั้นประสบความล้มเหลวซึ่งแทนที่จะลดลงการใช้สารกำจัดศัตรูพืช กลับเป็นการเพิ่มการใช้ โดยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ12 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลผลิตทางการเกษตร
รัฐบาลฝรั่งเศสเห็นด้วย ที่จะต้องมีการปรับปรุงแผนใหม่ โดยใช้ว่า Ecophyto 2+ ซึ่งจะเพิ่มการวิจัยเพิ่มฟาร์มสาธิตเพิ่มภาษีสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ประธานาธิบดี Emmanuel Macron ได้เรียกร้องให้มีการห้าม glyphosate ซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืชที่ขายดีที่สุดในโลกและเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับเกษตรกรจำนวนมาก
ครับ จากทั้ง 2 ตัวอย่างชี้ให้เห็นว่า สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชยังมีความสำคัญต่อการเกษตร การใช้อย่างปลอดภัยน่าจะเป็นประเด็นที่ต้องคำนึงถึงมากกว่า การลด ละ เลิก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sciencemag.org/news/2018/10/france-s-decade-old-effort-slash-pesticide-use-failed-will-new-attempt-succeed