โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
โรคแผลขีดสีน้ำตาลของมันสำปะหลัง (Cassava Brown Streak Disease – CBSD)ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดขีดสีน้ำตาลของมันสำปะหลัง และเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดขีดสีน้ำตาลอูกานดา(Ugandan brown streak virus)มีผลกระทบอย่างมากต่อการขยายพันธุ์ของมันสำปะหลังในแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกากลาง
โรคเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนที่เชื่อมโยงกับจีโนมของไวรัส (VPg) และโปรตีนไอโซฟอร์ม(elF4E) ที่เป็นตัวเริ่มต้นการแปลงรหัสพันธุกรรมของมันสำปะหลังMichael Gomez
นักวิทยาศาสตร์จาก University of California, Berkeley และเพื่อนร่วมงานตั้งใจที่จะมีส่วนร่วมในการบรรเทาปัญหานี้โดยการกำหนดเป้าหมายของ novel cap-binding proteins(nCBP-1 และ nCBP-2) เพื่อการการแก้ไขด้วย CRISPR-Cas9 ซึ่งโปรตีนเหล่านี้เป็นหนึ่งในไอโซฟอร์มelF4E ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค CBSD
[adrotate banner=”3″]
พวกเขาสังเกตเห็นความล่าช้าและการลดการเกิดอาการของ CBSD และลดความรุนแรงและอัตราการเกิดการตายของรากซึ่งเป็นอาการการติดเชื้อ CBSVในสายพันธุ์ที่เกิดจากการแก้ไขยีน เป็นการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า CRISPR-Cas9 เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความทนทานต่อโรคในมันสำปะหลัง
นักวิจัยยังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของไอโซฟอร์ม elF4E ที่ยังเหลืออยู่ใน CBSDเพื่อออกแบบกลยุทธ์การทนต่อโรคของมันสำปะหลัง
ครับ อีกไม่นานคงมีพันธุ์มันสำปะหลังที่ต้านทานต่อเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดแผลขีดสีน้ำตาลให้เกษตรกรได้ใช้
สำหรับเมืองไทยคงไม่มีโอกาส
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1111/pbi.12987