ค้นพบให้ต้นข้าวใช้น้ำน้อยและทนแล้งได้ดี

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

An ear of rice which grew heavily turns gold in the autumn rice field

         นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ (University of Sheffield) แห่งสหราชอาณาจักร(อังกฤษ)ได้ค้นพบว่า การพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีผลผลิตสูงโดยการลดความหนาแน่นของปากใบ (stomata) ช่วยให้ต้นข้าวอนุรักษ์น้ำและรอดชีวิตในสภาพอุณหภูมิสูงและแล้งได้

          การศึกษานี้ดำเนินการด้วยความร่วมมือกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute – IRRI) ซึ่งพบว่า สายพันธุ์ข้าวที่มีความหนาแน่นของปากใบต่ำ จะใช้น้ำเพียงร้อยละ 60 ของปริมาณน้ำที่ใช้ตามปกติ เมื่อปลูกในสภาพอากาศที่มีระดับคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เพิ่มขึ้น

[adrotate banner=”3″]

          ข้าวสายพันธุ์ที่มีความหนาแน่นของปากใบต่ำจะมีชีวิตอยู่รอดในสภาพแล้งและอุณหภูมิสูง (40 องศาเซลเซียส) ได้ยาวนานกว่าสายพันธุ์ปกติ

             Julie Gray ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านชีววิทยาโมเลกุลพืช (Plant Molecular Biology) และเป็นผู้นำในการศึกษานี้กล่าวว่า ปากใบช่วยให้พืชกำกับดูแลการใช้น้ำ ดังนั้นการศึกษานี้ จะมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อพืชอื่น ๆ ด้วย ที่อยู่ภายใต้ความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

            ครับ เรามองข้ามสิ่งที่เคยรู้มานาน โดยไม่นึกว่าจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อการปลูกพืชในปัจจุบัน

            อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sheffield.ac.uk/news/nr/rice-stomata-climate-change-1.794371