โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การโต้เถียงเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ยังคงจมอยู่ในข้อถกเถียงที่มีความสับสนยิ่ง และเป็นที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่งที่การโต้เถียงส่วนใหญ่ยังคงนำไปสู่การทำร้ายเกษตรกรยากจนในประเทศกำลังพัฒนา
ในขณะที่การแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ และความปลอดภัยทางชีวภาพที่มีอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก และกับทุกคนในสังคมสิ่งที่ยังคงอยู่คือจำนวนของประชาชนที่ยังคงความกลัวที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในการเกษตร ..
แม้ว่าพืชเทคโนโลยีชีวภาพหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีอยู่ในตลาดและในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์มานานกว่าสองทศวรรษ เช่นในปี 2559มีการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม 1,156.87 ล้านไร่ มากกว่าพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดของประเทศจีนหรือสหรัฐอเมริกา
[adrotate banner=”3″]
ความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่แท้จริงของพืชดัดแปลงพันธุกรรมมีการจำแนกให้เห็นอย่างเด่นชัด ในขณะเดียวกันกับที่ผู้เชี่ยวชาญและเกษตรกรได้ยืนยันให้เห็นว่านั้นคือประโยชน์ที่แท้จริงของพืชดัดแปลงพันธุกรรมแต่ทำไมประชาชนยังมีความกลัวในพืชดัดแปลงพันธุกรรม
มี 4 เหตุผลหลักที่น่าจะเป็นไปได้ คือ ความกลัวว่าบริษัทข้ามชาติจะควบคุมอาหารของโลกกลัวการใช้ประโยชน์ของเกษตรกร กังวลเกี่ยวกับการค้าและกลัวผลกระทบในระยะยาว
ครับ ทำอย่างไรให้คนเลิกกลัวใน 4 เหตุผลที่ว่าได้ครับ!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nation.co.ke/oped/opinion/Who-is-afraid-of-GMOs–Fear-peddlers/440808-4630670-6wg81o/index.html