ไม่ควรเอา”รัฐสิกขิม”เป็นต้นแบบเกษตรอินทรีย์

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

          รัฐสิกขิม เป็นรัฐหนึ่งของอินเดียอยู่ทางตอนเหนือ เป็นรัฐที่มีประชากรน้อยที่สุด ในปี 2553 มีประชากรทั้งหมดประมาณ 600,000 คน และเป็นรัฐที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับที่สองของรัฐต่าง ๆ ในอินเดีย โดยมีพื้นที่ทั้งหมดเพียง 4.43 ล้านไร่ เล็กกว่าจังหวัดสระแก้วเพียงเล็กน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 อยู่ในการดูแลของกรมป่าไม้ ที่เหลือเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตร มีการปลูกข้าวในแนวระดับตามไหล่เขา นอกจากนี้ยังมีปลูกข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ธัญพืชเมล็ดเล็ก ส้ม ชา และกระวานเทศ

รัฐบาลแห่งรัฐสิกขิมได้ประกาศแผนที่จะปรับเปลี่ยนระบบทำการเกษตรให้เป็นระบบเกษตรอินทรีย์ทั้งประเทศในปี 2546 โดยไม่ให้มีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเกษตร สิ่งที่ปรากฏชัดในปัจจุบัน คือ การลดลงอย่างมากของผลผลิตพืชที่ใช้เป็นอาหาร เมื่อเทียบระหว่างช่วงเวลาก่อนการปรับเปลี่ยน และหลังการปรับเปลี่ยน เช่น ข้าว จากที่เคยได้ 25.3 พันตัน ในช่วงปี 2538/39 เหลือเพียง 19.7 พันตัน ข้าวสาลีจาก 21.6 พันตัน เหลือเพียง 0.35 พันตัน และ ข้าวบาร์เล่ย์จาก 2.9 พันตัน เหลือเพียง 0.5 พันตัน ในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้ต้องพึ่งพาอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรให้เพียงพอจากรัฐอื่น ที่ทำการเกษตรแบบปกติที่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีเกษตร

[adrotate banner=”3″]

             มีข้อมูลแสดงให้เห็นว่ารัฐสิกขิมผลิตข้าวได้เพียงร้อยละ 20 จากความต้องการข้าวทั้งหมดต่อปีมากกว่า 100,000 ตัน และข้าวสาลีต้องนำเข้าจากรัฐอื่นมากถึงร้อยละ 95 ของความต้องการทั้งหมดต่อปี มีเพียงพืชชนิดเดียวที่ผลผลิตไม่ลดลงคือ ข้าวโพด ที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะการเพิ่มพื้นที่ปลูกนั้นเอง ในปี 2547 รัฐสิกขิมผลิตกระวานเทศได้มากถึง 5,400 ตัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อินเดียเป็นประเทศผู้นำในการผลิตกระวานเทศของโลก แต่ในปี 2558 กลับผลิตได้ไม่ถึง 4,000 ตัน
             การเกษตรในรัฐสิกขิมจัดเป็นต้นแบบที่เลวร้ายที่สุด ที่ไม่สามารถให้รัฐอื่นดำเนินรอยตาม ซึ่งกลายมาเป็นภาระหนักทางเศรษฐกิจของอินเดีย และการตีความว่าการเกษตรอินทรีย์เป็นการทำการเกษตรที่ยังยืน เป็นการตีความที่ผิด
             ข้อมูลจากธนาคารโลก (World Bank) ระบุว่า มี 5 ประเทศที่เป็นผู้ผลิตทางการเกษตรรวมแล้วมากกว่า ร้อยละ 40 ของโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา บราซิล และอินโดนีเชีย ทั้ง 5 ประเทศมีพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์เพียงร้อยละ 0.4, 0.8, 0.6, 0.3 และ 0.2 ตามลำดับ และด้วยนโยบายที่ผิดของรัฐบาลแห่งรัฐสิกขิม ส่งผลให้รัฐสิกขิมมีอัตราประชากรที่ฆ่าตัวตายสูง
            ครับ นับเป็นตัวอย่างที่ดีที่รัฐบาลไทยควรที่จะต้องศึกษาก่อนที่จะสายเกินไปครับ!
           ข้อมูลจาก The Sunday Guardian. www.sundayguardianlive.com. 24-30 June 2018, Vol 9 Issue 26: Sikkim’s Organic Farming Delusions