ข้อดีพืชจีเอ็มโอช่วยปกป้องพืชปกติที่ปลูกข้างเคียงได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

ประโยชน์ที่สำคัญอันหนึ่งของการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม คือ การที่เกษตรกรสามารถลดการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งสารบางชนิดก็เป็นที่รู้กันว่า มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ข้าวโพด ฝ้าย และถั่วเหลืองที่ได้ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้สร้างโปรตีนที่ได้ยีนมาจากแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis (บีที) ซึ่งสามารถกำจัดแมลงศัตรูได้ และประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริงในการป้องกันความเสียหายที่เกิดจากแมลงศัตรูพืช

นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันพืชชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ปลูกใกล้เคียงเพื่อไม่ให้เกิดการวิวัฒนาการของแมลงศัตรูให้ต้านทานต่อโปรตีนบีทีด้วย

ศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ข้าวโพดบีที สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชที่ลงทำลายพืชชนิดอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พืชผัก ส่งผลให้สามารถลดการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในพืชเหล่านั้นได้เช่นกัน
นักกีฏวิทยาและนักนิเวศวิทยา ได้เปรียบเทียบความเสียหายของพืชและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่ใช้ใน 4 ท้องที่ของรัฐนิวเจอร์ซี เดลาแวร์ แมรีแลนด์ และ เวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

[adrotate banner=”3″]

ข้อมูลที่ใช้ในการเปรียบเทียบได้มาจากปี 2519 – 2539 ซึ่งเป็นช่วงปีก่อนปลูกข้าวโพดบีที และช่วงปี 2539 – 2559 ซึ่งเป็นช่วงปีที่ปลูกข้าวโพดบีที รวมทั้งระดับของแมลงศัตรูพืช 2 ชนิดคือ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด และหนอนเจาะฝักข้าวโพด ที่สามารถเข้าทำลายได้หลายชนิดพืช รวมทั้งพริกและถั่วฝักยาวฃ

หลังจากปี 2539 ที่เริ่มปลูกข้าวโพดบีที จำนวนแมลงศัตรูซึ่งเป็นตัวเต็มวัยได้ถูกบันทึกเพื่อการวิเคราะห์ทุกคืนในแปลงปลูกผัก และพบว่า มีจำนวนลดลงไปถึงร้อยละ 75 ซึ่งการลดลงนี้จะผกผันกับพื้นที่ปลูกข้าวโพดบีทีในบริเวณนั้น ถึงแม้ว่าประชากรแมลงศัตรูจะเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิก็ตาม ซึ่งผู้วิจัยสรุปว่า ผลของการลดลงของแมลงศัตรูพืชในแปลงผักนั้นมาจากการปลูกข้าวโพดบีที มากกว่าอุณหภูมิ

ครับ เป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่นำมาแชร์ครับ!

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://arstechnica.com/science/2018/03/planting-gmos-kills-so-many-bugs-that-it-helps-non-gmo-crops/