สถานการณ์การปลูกพืชจีเอ็มโอในปี60 ทั่วโลก

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

        องค์การไอซ่า (ISAAA) ได้สรุปรายงานสถานการณ์การปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมปีการเพาะปลูก 2560 ของโลก ซึ่งสรุปประเด็นเด่น ๆ ได้ดังนี้

        1.ในปีเพาะปลูก 2560 พื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมยังคงเพิ่มขึ้น ถึง 1,186.25 ล้านไร่ เทียบกับปี 2559 ซึ่งมีพื้นที่ปลูก 1,156.87 ล้านไร่

         2.มีทั้งหมด 67 ประเทศทั่วโลกที่ใช้ประโยชน์จากพืชดัดแปลงพันธุกรรม ประกอบด้วยประเทศที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมจำนวน 24 ประเทศ (19 ประเทศเป็นประเทศกำลังพัฒนา และ 5 ประเทศเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว) อีก 43 ประเทศ เป็นประเทศที่ไม่ได้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม แต่มีการนำเข้าผลิตผลจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นอาหาร อาหารสัตว์ และเพื่อการแปรรูป

        3.จากพื้นที่ที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั้งหมด ร้อยละ 50 ของพื้นที่นั้นปลูกพันธุ์ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม และเมื่อพิจารณาเป็นรายพืช จากพืชที่ปลูกทั้งหมดของแต่ละพืช ร้อยละ 77 เป็นถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม ร้อยละ 80 เป็นฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม ร้อยละ 32 เป็นข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม และร้อยละ 30 เป็นคาโนล่าดัดแปลงพันธุกรรม

  แปลข้าวโพดบีทีในสหรัฐอเมริกา

         4.ประเทศที่ปลูกถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูก คือ สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา ปารากวัย แอฟริกาใต้ โบลิเวียและอุรุกวัย ประเทศที่ปลูกข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมมากกว่าหรือใกล้เคียงร้อยละ 90 คือ สหรัฐอเมริกา บราซิลอาร์เจนตินา แคนาดา แอฟริกาใต้และอุรุกวัย ประเทศที่ปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมมากกว่าหรือใกล้เคียงร้อยละ 90 คือ สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา อินเดีย ปารากวัย ปากีสถาน จีน เม็กซิโก แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย

           ส่งวนประเทศที่ปลูกคาโนล่าดัดแปลงพันธุกรรมมากกว่าหรือใกล้เคียงร้อยละ 90 คือ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ที่น่าสังเกตคือ ประเทศดังกล่าวเหล่านี้ เป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศที่กำลังพัฒนาจำนวนมาก

          5.ความมั่นคงทางอาหารของโลก จะขึ้นอยู่กับความเชื่อมโยงระหว่างประเทศผู้ผลิตอาหารและอาหารสัตว์ส่วนเกิน กับประเทศที่ผลิตอาหารและอาหารสัตว์ได้ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะถั่วเหลืองและข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม ได้ช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีอาหารสัตว์ที่พอเพียงสำหรับใช้ในการเลี้ยงสัตว์รวมทั้งปลา

[adrotate banner=”3″]

          ครับ ประเด็นที่ 5 เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะถ้าไม่มีถั่วเหลืองและข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งปลาจะประสบปัญหาอย่างแน่นอนครับ!

          อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.isaaa.org/resources/publications/briefs/53/executivesummary/default.asp