ยืนยันชัดเจน”ข้าวโพดจีเอ็มโอ”ปลอดภัย

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

            มีการศึกษา 3 ชิ้น จาก GRACE และ G-TwYSTในระดับสหภาพยุโรป และ GMO90+ ในฝรั่งเศส ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การศึกษาของ Gilles-ÉricSéralini เกี่ยวกับข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม นั้นผิดหรือไม่ถูกต้อง

            ในเดือนกันยายน 2555 Gilles-Eric Séralini   ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ ที่ University of Caen ได้ตีพิมพ์ผลงานที่มีความอ่อนไหวในวารสาร Food and Chemical Toxicology และต่อมาได้ถูกถอดออก ซึ่งผลการศึกษาอ้างว่า ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม NK603 ชักนำให้เกิดเนื้องอกในหนูทดลอง

            แต่ผลการศึกษาของสหภาพยุโรป ที่ให้ทุนในการศึกษาแก่ G-TwYST และได้รายงานผลการศึกษาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2561 ในที่ประชุมทางวิชาการ ในเมือง Bratislava ประเทศ Slovakia ซึ่งยืนยันว่า ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม MON810 และ NK603 ไม่มีผลต่อสุขภาพของหนู ในการศึกษาการให้อาหารหนูในระยะเวลา 90 วัน ซึ่งการทดลองนี้สรุปว่า

         1.ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขอนามัยของมนุษย์และสัตว์ จากการประเมินข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม NK603 ที่ได้เคยรายงานครั้งแรก และข้อมูลของ G-TwYSTจาก 90 วันของการศึกษา และจากการศึกษาระยะยาว ไม่พบความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นการสนับสนุนผลการศึกษาที่เคยรายงานก่อนหน้านี้

         2.ข้อมูลของ G-TwYSTจากการศึกษาการให้อาหารแก่หนูทดลองในระยะยาวด้วย NK603 ไม่พบความเสี่ยงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งสนับสนุนผลการศึกษาในเบื้องต้นและการศึกษาการให้อาหารหนูทดลองใน 90 วัน

          3. การทดสอบการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน 3 ครั้ง ในระหว่างการทดลองให้อาหารหนูแบบ 90 วันกับข้าวโพด NK603 พบว่า ไม่มีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

[adrotate banner=”3″]

             สมาคมเทคโนชีวภาพฝรั่งเศส (French Association of Plant Biotechnology – AFBV) ได้นำผลการศึกษานี้ไปเผยแพร่ใน enviscope.com โดยอ้างถึงผลการศึกษาระยะยาว 1 ปี และ 2 ปี ของ G-TwYSTโดย AFBV กล่าวว่า “ผลการศึกษาไม่ได้แสดงให้เห็นว่า ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมมีความเป็นพิษ และให้ผลไม่ต่างไปจากการศึกษาใน 90 วัน ตามที่แนะนำโดยนักพิษวิทยา”

              AFBV ประกาศว่า การศึกษาเหล่านี้ปฏิเสธข้อสรุปของ GE Seralin iที่ศึกษาความเป็นพิษของข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม นั่นคือ ไม่พบว่ามีความเสี่ยงใด ๆ นอกจากนี้ผลการศึกษาเหล่านี้ยังชี้ให้เห็นว่าไม่มีความจำเป็นในการทำการศึกษาระยะยาว

             AFBV ยืนยันว่า ผู้บริโภคชาวยุโรปควรที่จะต้องรับรู้รับทราบเกี่ยวกับผลการศึกษาเหล่านี้ ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นต่อสุขอนามัย ของพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่อนุญาตให้มีการค้าขาย

             ครับเข้าใจตรงกันนะครับว่า การใช้ข้อมูลจากการศึกษาเพียงครั้งเดียวในการพิจารณาตัดสินใจนั้น ไม่ถูกต้อง ต้องดูจากหลายการศึกษา และไม่จำเป็นต้องทำการศึกษาระยะยาวเป็นปี ๆ เพียง 90 วันก็เพียงพอสำหรับการศึกษาพิษวิทยาครับ!

            อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.g-twyst.eu/files/Conclusions-Recommendations/G-TwYSTConclusionsandrecommendations-final.pdf