โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ประเทศกำลังพัฒนามีความก้าวหน้าช้ามากในเรื่องของการออกกฎหมายและการเปิดรับงานวิจัย รวมทั้งการอนุญาตให้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือพืชจีเอ็มโอเชิงการค้า
ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาเหล่านั้น ต้องการขยายตลาดเพื่อการส่งออก พัฒนาสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และ ต้องการที่จะมุ่งเน้นในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ บางประเทศมองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาโดยใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรม
ดูเหมือนว่า จะมีการโต้เถียงกันอย่างเข้มข้นเมื่อมีการนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายอาหารและการเกษตรในประเทศที่กำลังพัฒนา
[adrotate banner=”3″]
พืชดัดแปลงพันธุกรรมได้รับการสนับสนุนให้เป็นหนึ่งในหลายวิธี ที่จะแก้ปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารที่กำลังเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่อยู่ในทวีปอัฟริกา ได้เป็นศูนย์กลางของการโต้เถียง ในขณะที่พื้นที่ในหลายส่วนของทวีปประสบปัญหาความแห้งแล้ง และความขัดแย้งภายในประเทศ ซึ่งนำไปสู่ความอดยากหรืออยู่ในสภาพที่ใกล้จะไม่มีอะไรกิน
กระนั้นในปัจจุบันมีเพียง 4 ประเทศในอัฟริกาที่อนุญาตให้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเชิงการค้า คือ เบอร์กินา-ฟูโซ อียิป ซูดาน และอัฟริกาใต้ และมีเพียงอัฟริกาใต้ที่อนุญาตให้ปลูกพืชอาหารที่เป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรม ในขณะที่อีก 3 ประเทศ อนุญาตให้ปลูกเพียงฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมเท่านั้น
ครับประเทศไทย ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ แม้ว่าในอดีต เคยเป็นผู้นำในประเทศอาเซียน แต่ยังโชคดีหน่อยที่ยังไม่อยู่ในสภาวะอดอาหารครับ!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.devex.com/news/what-are-the-political-drivers-for-gmos-in-developing-countries-92091