ควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อดี…สารเคมีตกค้าง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

          ข่าวสารทางลบเกี่ยวกับสารเคมีที่ออกมาจากกลุ่มต่อต้าน จะพบว่ามีออกมามากมายและอย่างต่อเนื่อง สิ่งแรกที่ผู้รับสารจะต้องพิจารณาคือ ข่าวสารนั้นเชื่อถือได้หรือไม่

          นาย Kevin M. Foltaซึ่งเป็นศาสตราจารย์ และ ประธานของคณะวิทยาศาสตร์พืชสวน ที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ได้ให้เหตุผลว่า ทำไมถึงต้องปฏิเสธ หรือไม่ควรเชื่อข่าวสารเหล่านั้น ลองมาฟังเหตุผลเขาดูครับ

         1.เพราะข่าวสารนั้นสร้างความรู้สึกที่ผิด ๆ เกี่ยวกับความเสี่ยงของอาหารที่ไม่ได้มีอยู่จริง ทั้งนี้เป็นเพราะ พวกเขาในกลุ่มต่อต้านเหล่านั้น ไม่ได้อยู่ในองค์กรทีทำการทดสอบ พวกเขาเพียงแต่นำผลทดสอบที่หามาได้จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ที่ทำการทดสอบเพื่อติดตามความปลอดภัยของสารเคมีที่ใช้ในพื้นที่เกษตร ซึ่งผลทดสอบแสดงให้เห็นว่าอาหารนั้นมีความปลอดภัย โดยมีค่าของผลตกค้างน้อยมากเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานที่กำหนดให้มีได้ พวกเขาเหล่านั้นมักอ้างว่า พบสารเคมีตกค้างหลายชนิดในชิ้นส่วน ๆ หนึ่งของผลไม้ ทั้งทั้งที่เกษตรกรไม่เคยใช้สารเคมีเหล่านั้นร่วมกัน พวกเขาเหล่านั้นมักใช้ข้อมูลมายำเข้าด้วยกันเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับผู้บริโภค

           2.เพราะข่าวสารนั้นสร้างความกลัวในสารเคมีที่มีการใช้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้เป็นเพราะ จุดประสงค์ของการสำรวจของหน่วยงานที่รับผิดชอบนั้น เป็นการตรวจสอบว่าการใช้สารเคมีนั้นเป็นการใช้อย่างปลอดภัย และจากผลการตรวจสอบก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ กลุ่มต่อต้านพยายามที่จะเบี่ยงเบนข้อมูลเพื่อสร้างความกลัวให้กับผู้บริโภค ซึ่งอาหารที่พวกเรารับประทานกันอยู่มีความปลอดภัย พวกเขาเหล่านั้นระบุว่า ผลสตรอเบอร์รี มีสารเคมีตกค้างมากเป็นอันดับ 1 แต่ในความเป็นจริง ทั้งนักวิทยาศาสตร์และเกษตรกร ก็เก็บผลสตรอเบอร์รีจากแปลงปลูกให้ลูกหลานของเขาบริโภค

[adrotate banner=”3″]

          3.เพราะสารเคมีนั้นไม่ทำอันตรายต่อเกษตรกรเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในการป้องกันผลผลิตพืชอย่างมีความรับผิดชอบ เนื่องเพราะพื้นที่นั้นเป็นแปลงเพาะปลูกของเขาและใกล้ ๆ กันก็เป็นที่อยู่ของครอบครัวและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งค่าสารเคมีมีราคาแพง ใช้เวลาในการพ่น ต้องเสียค่าแรงและน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีค่อนข้างน้อย การที่บอกว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีมากถึง 35 ชนิดในแปลง จึงเป็นไปไม่ได้

          4.เพราะทำให้หมดความอยากที่จะบริโภคผลไม้และผักสด โดยความพยายามที่จะสร้างแนวความคิดที่ว่า ผลไม้และผักสดนั้นมีสารเคมีปนเปื้อน ในขณะที่ เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า การบริโภคผลไม้และผักสดเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพสร้างภูมิคุ้มกันโรคในระยะยาว จึงควรที่จะส่งเสริมให้บริโภคแทนที่จะสร้างให้เกิดความกลัว

          5.เพราะทำให้คนจนไม่สามารถบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพคนจนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองหรือในพื้นที่ชนบทอาจจะไม่สามารถเข้าถึงผลไม้และผัดสดได้ แต่ก็พอหาได้จากร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน ซึ่งแน่นอนไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์อินทรีย์ เมื่อมีการรณรงค์ว่าผักและผลไม้สดจากการปลูกแบบปกติมีความเสี่ยงและอันตราย การตัดสินใจในการซื้อก็ได้รับผลกระทบ ทำให้ผู้บริโภคต้องมาซื้ออาหารแช่แข็งที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำลง

           6.เพราะส่งเสริมให้มีขยะจากอาหารเมื่อผู้บริโภคไม่ซื้อผักและผลไม้สดที่เชื่อว่ามีการปนเปื้อนสารเคมี ทำให้ผักและผลไม้นั้นต้องถูกทิ้งเป็นขยะ ในความเป็นจริง ควรที่จะส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ลดขยะและช่วยสร้างเสริมให้มีการผลิตที่ยั่งยืน

           นั่นเป็น 6 เหตุผล ที่จะปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของกลุ่มต่อต้าน ซึ่งกลุ่มต่อต้านต้องการที่จะล้มล้างการเพาะปลูกที่ทำกันอยู่อย่างปกติ เขาเหล่านั้นไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ แต่เขาเชียวชาญทางการตลาดที่จะสร้างความกลัวให้เกิดกับผู้บริโภคในการตัดสินใจ

           ครับเพื่อพิจารณา จะเชื่อกลุ่มต่อต้านหรือเชื่อนักวิทยาศาสตร์ ก็แล้วแต่ท่านผู้อ่านเองครับ!

          อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://medium.com/@kevinfolta/a-half-dozen-reasons-to-reject-the-dirty-dozen-9f12c38faa83