ประโยชน์ของการปลูกพืชจีเอ็มโอ: ด้านสิ่งแวดล้อม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพรธ์  เอี่ยมสุภาษิต

         คราวที่แล้วได้พูดถึงประโยชน์ของการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในด้านเศรษฐกิจ คราวนี้จะพูดถึงประโยชน์ของการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งไม่เพียงแต่จะให้ผลกำไรและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม จากการลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ประโยชน์ดังกล่าวพอจำแนกให้เห็นได้ ดังนี

         1.การยอมรับการปลูกฝ้ายบีทีที่ประเทศจีนทำให้เกษตรกรพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชลดลง จาก 12 – 30 ครั้งต่อฤดูปลูกเหลือเพียง 3 – 4 ครั้งต่อฤดูปลูก หรือ มีปริมาณการใช้ลดลงร้อยละ 71 คือ จาก 14 กก/เฮกตาร์ เหลือเพียง 4 กก/เฮกตาร์

         2.ประโยชน์ที่ได้รับต่อเนื่องคือ สามารถลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลงที่ปลูกฝ้ายปกติลงได้ จากปริมาณการใช้ 40 กก/เฮกตาร์ เหลือเพียงน้อยกว่า 10 กก/เฮกแตร์

       3.ในอินเดียการยอมรับฝ้ายบีทีสามารถลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชลงได้ร้อยละ 41

        4.ในแคนาดาตะวันตก การใช้สารเคมีฯ ในแปลงปลูกคาโนล่าดัดแปลงพันธุกรรม ลดลงร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับแปลงปลูกปกติ

         5.การปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลก ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์มอนไดอ๊อกไซด์ เที่ยบเท่ากับการยกรถออกจากถนน 10 ล้านคันออกจากถนนในหนึ่งปี

         ประโยชน์ของการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม: ด้านสุขอนามัยและความเป็นอยู่ของมนุษย์ซึ่งประโยชน์ทางด้านนี้มีการพูดถึงกันน้อย พอจำแนกได้ดังนี้

         1.ภายหลังจากการอนุญาตให้ปลูกฝ้ายบีทีในประเทศอินเดียแล้ว พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายของเกษตรกรชาวอินเดียลดลงไปถึงหนึ่งในสาม ของอัตราการฆ่าตัวตายก่อการปลูกฝ้ายบีที

         2.การยอมรับข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม ส่งผลให้เวลาที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชต่อฤดูปลูกด้วยแรงงานผู้หญิงลดลง

        3. กรณีความเป็นพิษที่เกิดจากการใช้สารเคมีฯ ในแปลงปลูกฝ้ายบีทีของเกษตรกรจาก เบอร์กินา ฟาโซ ลดลง

       4.ในอินเดีย กรณีความเป็นพิษที่เกิดจากการใช้สารเคมีในแปลงปลูกฝ้ายลดลง 4 – 9 ล้านกรณีต่อปี

         ครับ เมื่อเห็นประโยชน์ที่ดีดังกล่าวมาแล้ว แล้วทำไม่ไม่ส่งเสริมให้ใช้ครับ

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://geneticliteracyproject.org/2018/04/06/25-years-of-gmo-crops-economic-environmental-and-human-health-benefits/?mc_cid=34bb34614a&mc_eid=43212d8a02