ประสิทธิภาพข้าวโพดบีทีในการบริหารจัดการศัตรูพืช

  •  
  •  
  •  
  •  

     ประสิทธิภาพข้าวโพดบีทีในการบริหารจัดการศัตรูพืช

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

Cornfield with multiple rows of corn. Green and yellow

          การศึกษาวิจัยชิ้นใหม่ที่ใช้ข้อมูลที่มีอยู่มากถึง 40 ปี ของนักวิจัยจากคณะเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้ข้าวโพดบีที (ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมให้ต้านทานแมลงศัตรูพืช) ซึ่งการศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้จากการใช้ข้าวโพดบีทีในการบริหารจัดการศัตรูพืช ในกรณีนี้คือ หนอนเจาะลำต้นและหนอนเจาะฝัก แต่การศึกษานี้ จะมองถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพืชอื่น ๆ ในทวีปอเมริกาเหนือด้วย 

         ข้าวโพดบีที ได้รับการยอมรับในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2539 จนปัจจุบันมีการปลูกข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมในสหรัฐอเมริกามากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดทั้งประเทศ ในการศึกษาวิจัยนี้ Dr. Galen Divelyที่เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management – IPM) ของภาควิชากีฏวิทยา และ Dr. Dilip Venugopalซึ่งเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ได้ใช้ข้อมูลระหว่างปี 2519 – 2559 เพื่อดูแนวโน้ม 20 ปีก่อน และ 20 ปีหลังการใช้ข้าวโพดบีที

        Venugopal กล่าวว่า ความปลอดภัยของข้าวโพดบีทีและสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอื่น ๆ ได้ผ่านการทดสอบและพิสูจน์มามากมายแล้ว แต่การศึกษานี้จะดูที่ประสิทธิภาพของข้าวโพดบีทีที่ใช้เป็นกลยุทธ์ในการบริหารจัดการศัตรูพืช โดยเฉพาะกับพืชชนิดอื่นที่นอกเหนือไปจากข้าวโพดบีที

[adrotate banner=”3″]

          ในการควบคุมประชากรหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การใช้ข้าวโพดบีทีสามารถลดคำแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ลดประชากรศัตรูพืช และลดความเสียหายของพืชในภาพรวม ไม่ใช่เฉพาะข้าวโพดบีทีเท่านั้น แต่ยังพบเช่นเดียวกันกับ พริก ถั่ว และพืชอื่นที่มีความสำคัญทางการเกษตรในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งประโยชน์ที่ได้ดังกล่าวนี้ ยังไม่เคยมีการรายงานมาก่อน และตัวอย่างจากข้าวโพดบีที จัดเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการต่อสู้กับความต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสร้างความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร

        Venugopal  ยังกล่าวอีกว่า ขั้นตอนต่อไป ควรจะต้องทำให้เห็นว่า ประโยชน์ที่ได้ทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนหลาย ๆ ล้านเหรียญสหรัฐนั้น เกิดจากการประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและการจัดการศัตรูพืช เกิดจากการลดความเสียหายของพืช รวมทั้งประโยชน์ที่ได้ทางด้านสิ่งแวดล้อม

         ครับ ประเทศไทยไม่ค่อยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้ ทำออกมาอีกกี่รายงานก็คงยังไม่เชื่อครับ!

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://agnr.umd.edu/news/forty-years-data-quantifies-benefits-bt-corn-adoption-across-wide-variety-crops-first-time