บังกลาเทศให้เกษตรกรปลูกพืชจีเอ็มโอได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

       บังกลาเทศ เป็นประเทศผู้ผลิตมันฝรั่งใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก และปลูกโดยเกษตรกรรายย่อย

       AkhterHossainอายุ 46 ปี แต่งงานแล้วและเป็นคุณพ่อลูก 3 อยู่ในอำเภอ Chuadangaก็เป็นหนึ่งในเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกมันฝรั่งดังกล่าว

        การปลูกมันฝรั่งของเขาประสบปัญหามากมาย รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โรงเย็นที่ใช้เก็บรักษาหัวมันฝรั่งที่หาได้ยาก และการทำลายของโรคและแมลงศัตรูมันฝรั่ง โดยเฉพาะโรคใบไหม้ (late blight disease – LBD)

        เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรรายย่อยที่รวมทั้งนาย AkhterHossainจึงได้มีการใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ในการพัฒนามันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรม ให้ต้านทานต่อโรคใบไหม้ การปลูกพันธุ์มันฝรั่งต้านทานดังกล่าว เกษตรกรสามารถลดการใช้สารเคมีป้องกันเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค และยังเพิ่มผลผลิต ซึ่งหมายถึงการมีเงินเหลือเก็บหลังจากการเก็บเกี่ยว

[adrotate banner=”3″]

        รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ที่ชื่อ MatiaChowdhuryได้ยืนยันเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า รัฐบาลยังคงสนับสนุนพืชดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่า ยังมีอาหารพอเพียงสำหรับชาวบังกลาเทศ

        เมื่อปี 2557 บังกลาเทศได้อนุญาตให้ปลูกมะเขือม่วงดัดแปลงพันธุกรรม ที่ต้านทานต่อการเข้าทำลายของหนอนเจาะลำต้นและผล ซึ่งช่วยให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดอย่างมาก และยังขายได้ราคาดีเนื่องจากผลที่มีคุณภาพ

        ครับ เมื่อไหร่หนอ เกษตรกรบ้านเราจะมีโอกาสได้ใช้กับเขาบ้าง

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://allianceforscience.cornell.edu/blog/gmo-potato-can-help-bangladeshi-farmers-cut-pesticide-use