คำตอบชัดเจน ที่เกษตรกรฟิลิปปินส์ปลูก “ข้าวโพดบีที”

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

            ด้วยเหตุผลที่ว่า ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และหลังเดี้ยง จากการก้มทำงานหนัก รวมทั้งไม่สามารถคาดเดาผลผลิตที่จะได้รับ

           ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ นาง Rosalie Ellasus ชาวฟิลิปปิ่สยกเลิกการเพาะปลูกข้าวโพด (คงไม่ต่างจากเกษตรกรบ้านเรานัก)แต่นาง Rosalie ได้เปลี่ยนใจหลังจากรัฐบาลฟิลิปปินส์อนุญาตให้ปลูกข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมหรือข้าวโพดบีที เป็นการค้าได้

           ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมได้ถูกดัดแปลงให้มีความต้านทานต่อศัตรูพืช สารกำจัดวัชพืช และทนแล้ง ทำให้เกษตรมีความสุขในการเพาะปลูก เพราะข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมจะใช้การไถพรวนน้อย และใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยน้อยลง และที่สำคัญให้ผลผลิตสูง

           เธอ กล่าวว่า “ถ้าเราไม่ติดตามพื้นที่เพาะปลูกของเราอย่างดี เราจะได้ผลผลิตข้าวโพดเพียง 3.5 ตันต่อเฮกตาร์ หรือประมาณ 560 กิโลกรัมต่อไร่ จากการปลูกข้าวโพดพันธุ์เดิม ๆ แต่เราสามารถได้ผลผลิตเพิ่มเป็น 7.8 ตันต่อเฮกตาร์ หรือ 1.25 ตันต่อไร่ จากการปลูกข้าวโพดบีที หรือข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานหนอนเจาะลำต้น”

          นับตั้งแต่ปี 2545 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ได้เริ่มปลูกข้าวโพดบีที ปัจจุบันเกษตรกรฟิลิปปินส์ปลูกข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมมากกว่า 5 ล้านไร่

          ไม่เหมือนประเทศฟิลิปปินส์ รัฐบาลอินโดนีเซีย ยังไม่เต็มใจที่จะพิจารณาบรรจุอยู่ในแผนการที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อผลักดันผลผลิตทางการเกษตร แต่ในอีกด้านหนึ่ง อินโดนีเซียได้นำเข้าผลิตผลที่มาจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมมามากว่า 20 ปี (เหมือนบ้านเราเลย)

[adrotate banner=”3″]

         แต่ก็มีข่าวดี ที่รัฐมนตรีจะอนุญาตให้มีการทดสอบภาคสนามของมันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรม ที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลอินโดนีเซีย ยังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีนี้

         ครับ ประเทศไทยไม่มีข่าวดีเช่นนี้เลยครับ!

         อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thejakartapost.com/longform/2018/01/24/gmo-in-times-of-shrinking-land.html