มะเขือเทศแก้ไขยีนของบริษัทสตาร์ทอัพ Phytoform ในอังกฤษ ให้ผลผลิตเพิ่ม 400 % ในแปลงเกษตรแนวตั้ง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

Phytoform เป็นบริษัทที่พัฒนาพันธุ์พืชซึ่งตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร ได้เปิดตัวมะเขือเทศพันธุ์ยอดนิยม Ailsa Craig ซึ่งมีขนาดเพียง 1 ใน 6 ของต้นมะเขือเทศทั่วไป แต่ให้ผลผลิตมากกว่า 5 เท่า

บริษัทได้ใช้การแก้ไขยีนเพื่อผลิตมะเขือเทศที่ปรับตัวให้เหมาะกับความต้องการของการทำเกษตรแบบแนวตั้ง Dr. William Pelton ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัท Phytoform กล่าวว่า ต้นมะเขือเทศดังกล่าวเป็นพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก และคาดหวังว่าจะได้รับการนำไปใช้ในการทำเกษตรแบบแนวตั้ง แม้ว่ามะเขือเทศที่ปลูกในเรือนกระจกทั่วไปจะเจริญเติบโตเป็นเถายาวได้เพียงเถาเดียวในหนึ่งปี แต่มะเขือเทศที่ผ่านการแก้ไขยีนของบริษัท Phytoform สามารถปลูกได้ 3 รอบต่อปี และปลูกได้ 50 ถึง 100 ต้น ในพื้นที่เดียวกับที่ปลูกมะเขือเทศพันธุ์ทั่วไปต้นหนึ่ง ซึ่งใช้พื้นที่ประมาณ 1 ตารางเมตร

Pelton กล่าวว่า จากการทดลองของบริษัท Phytoform มะเขือเทศที่ผ่านการแก้ไขยีนสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 1 กิโลกรัม ต่อต้นที่หนัก 300 กรัม “จริง ๆ แล้วเราสามารถรับน้ำหนักได้ 150 ถึง 300 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 180 ถึงเกือบร้อยละ 400 เมื่อเทียบกับระบบทั่วไป”

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://agfundernews.com/phytoform-says-its-gene-edited-tomato-could-produce-up-to-400-more-fruit-in-a-vertical-farm#:~:text=More%20fruit%2C%20same%20space&text=Phytoform%20can%20fit%20three%20cycles,compact%20footprint%2C%E2%80%9D%20says%20Pelton.