สวิตเซอร์แลนด์หันมายอมรับอาหารที่มาจากการแก้ไขยีน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

หลังจากที่พืชดัดแปลงพันธุกรรมถูกห้ามเป็นเวลา 20 ปี รัฐสภาสวิสก็ขอให้รัฐบาลเตรียมร่างพระราชบัญญัติสำหรับการขอความเห็นเกี่ยวกับระบบการอนุญาตบนฐานความเสี่ยงสำหรับพืชและเมล็ดพันธุ์ที่พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยี CRISPR ซึ่งจะเป็นการยกเว้นออกจากการห้ามสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม โดยจะอนุญาตให้มีการทดสอบพืชที่พัฒนามาจากเทคนิคพันธุวิศวกรรมที่ไม่มียีนแปลกปลอมจากสิ่งมีชีวิตอื่น และพืชที่ให้มูลค่าเพิ่มสำหรับการเกษตร สิ่งแวดล้อม และผู้บริโภค

ในบรรดาผู้ที่มีแนวโน้มจะเข้าร่วมในกระบวนการขอความเห็น ได้แก่ สถาบันวิจัยเกษตรอินทรีย์ (Swiss-based Research Institute of Organic Agriculture – FiBL) ซึ่งมีฐานอยู่ในสวิส และเป็นหนึ่งในสถาบันเกษตรอินทรีย์ชั้นนำของโลก รวมทั้งยังเป็นองค์กรที่มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการแก้ไขยีนต่อการทำเกษตรอินทรีย์ และกำลังรวบรวมจุดยืนอย่างเป็นทางการในประเด็นนี้

Monika Messmer หัวหน้ากลุ่มร่วมฝ่ายการปรับปรุงพันธุ์พืชของ FiBL กล่าวว่า “เราเห็นศักยภาพของการแก้ไขยีนเพื่อช่วยลดการใช้สารสังเคราะห์ที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในระยะสั้นสำหรับการเกษตรแบบดั้งเดิม” “อย่างไรก็ตาม เราเกรงว่าการพัฒนาทางเทคนิคที่รวดเร็วเกินไปจะก่อให้เกิดความเสี่ยง ที่จะทำให้เป้าหมายของการพัฒนาระบบการเกษตรและอาหารที่มีความยั่งยืนมากขึ้นจะถูกเลื่อนออกไปอีก”

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.swissinfo.ch/eng/multinational-companies/crispr-is-switzerland-ready-to-embrace-gene-editing-in-agriculture/85544495