ทั่วโลกขานรับตั้ง“รางวัลวันดินโลก”เริ่มทันที 5 ธ.ค.นี้

  •  
  •  
  •  
  •  

ที่ประชุมใหญ่ “เอฟเอโอ” ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ขานรับข้อเสนอกระทรวงเกษตรฯ ไทย ให้ตั้ง “รางวัลวันดินโลก” หรับบุคคล องค์กร หรือประเทศที่มีผลงานและกิจกรรมที่ประจักษ์ชัดเจนต่อการส่งเสริมและการสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดิน เพื่อความมั่นคงอาหารโลกอย่างยั่งยืน เริ่มทันที่ 5 ธันวาคม 2561 นี้มอบ ณ ประเทศไทย

             นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมประชุมสมัชชาดินโลก ครั้งที่ 6 (Global Soil Partnership) ณ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟ เอ โอ) กรุงโรม ประเทศอิตาลี ว่า ตามที่องค์การสหประชาชาติได้มีมติรับรองให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น “วันดินโลก” และได้เชิญชวนประเทศสมาชิกร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักในการจัดการทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน เพื่อความมั่นคงทางอาหารของโลกนั้น

          ในการประชุมสมัชชาดินโลก ครั้งที่ 6 ในครั้งนี้ มีตัวแทนจากกระทรวงเกษตรฯ ประกอบด้วยนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธนวรรษ เทียนสิน อัครราชทูตฝ่ายเกษตร ผู้แทนกรมพัฒนาที่ดิน ผู้แทนกรมชลประทาน และผู้แทนกรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการวันดินโลก และตามมติที่ประชุมสมัชชาดินโลกแห่งภูมิภาคเอเชีย ที่ได้มอบหมายให้นำเสนอต่อเอฟ เอ โอ ในการบรรจุวาระเพื่อพิจารณา เรื่อง การจัดตั้ง รางวัลวันดินโลก ( World Soil Day Award ) สำหรับบุคคล องค์กร หรือประเทศที่มีผลงานและกิจกรรมอันเป็นที่ประจักษ์ต่อการส่งเสริมและการสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดิน เพื่อความมั่นคงอาหารโลกอย่างยั่งยืน

           สำหรับรางวัลดังกล่าวจะมอบในทุกวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ณ ประเทศไทย ซึ่งหากการประชุมสมัชชาดินโลกของเอฟเอโอในครั้งนี้ ประเทศสมาชิกมีมติเห็นชอบข้อเสนอของประเทศไทย เอฟ เอ โอ ก็จะเริ่มกระบวนการ โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ พร้อมทั้งสรรหา และจะเริ่มมอบรางวัลวันดินโลกครั้งแรกได้ในวันที่ 5 ธันวาคม 2561 ณ ประเทศไทย

[adrotate banner=”3″]

           นอกจากนี้ ได้เสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านดินของภูมิภาคเอเชีย ( Soil Excellent Center) ณ ประเทศไทย และโครงการ ASEAN Soil Nutrition ซึ่งจะสอดรับตามนโยบาย Big Data และนโยบาย Agri Map ของกระทรวงเกษตรฯ และกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อขยายผลการจัดทำข้อมูลให้ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรทั้งภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย รวม 24 ประเทศ เพื่อนำไปสู่การจัดการทรัพยากรดินเพื่อความมั่นคงอาหารโลกในที่ประชุมสมัชชาดินโลกด้วย