“ดีแอลจี” สุดปลื้ม”งานอะกริเทคนิก้า เอเชีย ปี 67″ ยกเป็นงานแสดงเครื่องจักรกลการเกษตรชั้นนำแห่งเอเชีย ประกาศจัดทุกปีสลับเวียดนาม ปีหน้าเจอที่ “โฮจิมินห์”

  •  
  •  
  •  
  •  

“สมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน” สุดปลื้ม “งานอะกริเทคนิก้า เอเชีย” ประสบผลสำเร็จอย่างท่วมท้น มีผู้ร่วมแสดงสินค้าถึง 353 ราย จาก 28 ประเทศ เพิ่มขึ้นถึง 40 %  เพิ่มพื้นที่การจัดแสดงสินค้าเป็น 2 เท่าจากการจัดงานในครั้งก่อน และมีผู้เข้าร่วมงานระหว่างประเทศมากถึง 12,129 คน สร้างสถิติใหม่ของการจัดงานอะกริเทคนิก้า เอเชีย เผยผู้เข้าร่วมงานต่างชื่นชมว่าเป็นการนำเสนองานแสดงสินค้าด้านการเกษตรในเอเชียที่ดีที่สุด พร้อมประกาศนับจากนี้ “งานอะกริเทคนิก้า เอเชีย จะจัดขึ้นทุกปี” สลับระหว่างประเทศไทยและประเทศเวียดนาม ย้ำที่กรุงเทพฯ ยังคงเป็นศูนย์กลางหลักของการจัดงานนี้ พบกันปีหน้างานอะกริเทคนิก้า เอเชีย เวียดนามจะเปิดตัวครั้งแรก ณ. นครโฮจิมินห์ ระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2568 ในต้นปีหน้า

จากการที่สมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน หรือ ดีแอลจี (DLG – German Agricultural Society) เป็นเจ้าภาพจัดงาน (AGRITECHNICA ASIA) ประจำปี 2567  ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าชั้นนำของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้านการผลิตพืชและการเกษตรอัจฉริยะ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ประเทศไทย ถือว่ามีการเติบโตอย่างมากที่สุดนับจากงานครั้งที่ผ่านๆ มา ทำให้ปัจจุบันงานอะกริเทคนิก้า เอเชีย เป็นงานแสดงสินค้าชั้นนำด้านเครื่องจักรกลการเกษตรในเอเชีย มีจำนวนผู้แสดงสินค้าเพิ่มขึ้นกว่าถึง 40 % และเพิ่มพื้นที่จัดแสดงสินค้าเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับการจัดงานในครั้งก่อน สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานเพิ่มขึ้นถึง 35 % โดยผู้เข้าร่วมงานกว่า 48 %เดินทางมาจาก 73 ประเทศทั่วโลกรวมถึงคณะผู้ซื้อจากประเทศจีน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

ส่วนผู้แสดงสินค้าเดินทางมาจากหลากหลายประเทศ โดยมีประเทศจีน ไทย เยอรมนี ตุรกี ออสเตรเลีย และอินเดีย เป็นประเทศที่มีการจองพื้นที่จัดแสดงมากที่สุดเมื่อพิจารณาจากขนาดพื้นที่การแสดงสินค้าต่อตารางเมตร สำหรับโปรแกรมการประชุมและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของงานได้มีการหยิบยกประเด็นอย่างการเกษตรอัจฉริยะและเครดิตคาร์บอนมาพูดถึง โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรระดับนานาชาติมากถึง 118 คน พร้อมด้วยองค์กรพันธมิตรมืออาชีพมากกว่า 40 องค์กรเข้าร่วมด้วย

นางแคธาริน่า สแตส์เก้ กรรมการผู้จัดการสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค หรือ (ดีแอลจี เอเชีย แปซิฟิค) กล่าวว่า การจัดงานครั้งในนี้ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นทั้งสำหรับผู้แสดงสินค้าและผู้เข้าชม สถิติต่างๆ ในปีนี้พิสูจน์ได้ว่างาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย นับเป็นปีที่ประสบความสำเร็จที่สุด สมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน หรือ ดีแอลจี (DLG – German Agricultural Society) ในฐานะผู้จัดงานที่ให้บริการเกษตรกรระหว่างประเทศ มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในความสำเร็จครั้งนี้ จึงตั้งใจที่จะขยายความสำเร็จลักษณะนี้ต่อไปในเอเชีย

นางสแตส์เก้ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย เป็นที่รู้จักทั่วภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ในฐานะเวทีจัดแสดงสินค้าและการประชุมด้านเครื่องจักรกลการเกษตรที่ไม่เพียงแต่นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาทางด้านเทคนิคที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างมืออาชีพด้านการเกษตร ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญของสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน ในฐานะผู้จัดงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย

สมาคมเกษตรกรรมเยอรมันพร้อมขยายเครือข่ายงานแสดงสินค้าในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก : ด้วยความต้องการจากอุตสาหกรรมการเกษตรและกระทรวงการเกษตรในภูมิภาคเอเชีย ทำให้สมาคมฯ ตัดสินใจจัดงานอะกริเทคนิก้า เอเชีย เป็นประจำทุกปี โดยจะเป็นการจัดสลับกันระหว่างประเทศไทย และเวียดนาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรทั่วเอเชียต่างมองหาข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์และเทคนิคการเกษตรอย่างต่อเนื่อง

ด้านนายเจนส์ เครเมอร์ (Mr. Jens Kremer) กรรมการผู้จัดการสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ (ดีแอลจี อินเตอร์เนชั่นแนล) กล่าวว่า นี่คือเหตุผลที่ทางสมาคมฯ ตัดสินใจจัดงานอะกริเทคนิก้า เอเชีย ให้เป็นงานประจำปี เพื่อจะช่วยเสริมสร้างเครือค่ายภาคการเกษตร รวมไปถึงการอัพเดทข้อมูลด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมล่าสุดเพื่อการปฏิบัติการเกษตรและการแลกเปลี่ยนความองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค

งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ได้รับอิทธิพลจากงานแม่อย่างงาน อะกริเทคนิก้า ที่จัดประจำทุกสองปี ในเมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี โดยงาน อะกริเทคนิก้า ในประเทศเยอรมนี ถือเป็นงานที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติจากหมู่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรในฐานะเวทีชั้นนำระดับโลกด้านนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร มีผู้จัดแสดงสินค้ากว่า 2,800 รายมาจัดแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรสมัยใหม่ โดยงาน อะกริเทคนิก้า ครั้งต่อไปมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-15 พฤศจิกายน 2568

งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ในกรุงเทพฯ ประจำปี 2569: เวทีธุรกิจชั้นนำเพื่อการเกษตรในเอเชีย

สำหรับงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ในกรุงเทพฯ ยังถือเป็นศูนย์กลางและเวทีเจรจาธุรกิจชั้นนำสำหรับการเกษตรในเอเชีย ที่รวมตัวผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และโอกาสทางการตลาด ซึ่งจะจัดขึ้นในปี 2569 เพื่อเป็นเวทีธุรกิจชั้นนำเพื่อการเกษตรในเอเชีย

ดร. วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่สำหรับการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของกระทรวงฯ อีกด้วย โดยทางกระทรวงฯ ยินดีให้การสนับสนุนการจัดงานในประเทศไทยต่อไปในอนาคต

ส่วนนายปีเตอร์ แซลมอน (Mr. Peter Salmon) ผู้จัดการธุรกิจฝ่ายขาย ปรจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – อินโดนีเซีย ไต้หวัน ไทย จากแอ๊คโค่ คอร์เปอเรชั่น (AGCO Corporation) กล่าวว่า งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย เป็นศูนย์กลางสำหรับการเจรจาธุรกิจร่วมกับพันธมิตรจากทั่วเอเชียแปซิฟิคที่ดีที่สุด งานดังกล่าวตอกย้ำการเป็นเวทีการแสดงสินค้าด้านการเกษตรชั้นนำในเอเชีย และทางแอ๊คโค่ตั้งตารอที่จะกลับมารวมตัวกับพันธมิตรด้านการเกษตรอีกครั้งในงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ครั้งต่อไป

ขณะที่ ดร. บียอร์น โอเล่ ซานเดอร์ (Bjoern Ole Sander) ผู้แทนสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติประจำประเทศไทย (Country Representative of International Rice Research Institute – IRRI) กล่าวว่า “ในงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย เราได้อภิปรายหัวข้อเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดคาร์บอนสำหรับภาคเกษตรกรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การอภิปรายจะช่วยให้การจ่ายคาร์บอนกลายเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและโลก งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย สามารถดึงดูดผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากทั่วทุกมุมของเอเชียมารวมตัวกัน

แนวคิดใหม่สำหรับงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ที่จะเปิดตัวในประเทศเวียดนามปี 2568

งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย จะเปิดตัวครั้งแรกในเวียดนามและจัดขึ้นที่นครโฮจิมินห์ ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2568 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกำหนดการประจำปีใหม่ งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ที่ประเทศเวียดนามจะจัดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวควบคู่ไปกับงานฮอร์เท็กซ์ (HORTEX) ซึ่งเป็นนิทรรศการชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับ การปลูกพืชสวนและการปลูกไม้ดอกแบบมืออาชีพ นิทรรศการทั้งสองครอบคลุมถึงเครื่องจักรและเทคนิคสำหรับพืชผลและพืชสวน โดยให้ผู้เข้าชมได้เห็นภาพรวมที่มีประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่มีอยู่

นอกจากนี้จะมีงานฮอร์เท็กซ์จะจัดขึ้นควบคู่ไปกับ งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ในกรุงเทพฯ ในปี 2569 โดยงานฮอร์เท็กซ์อยู่ภายใต้การจัดการและกำกับดูแลของบริษัท มินห์ วี เอ็กซิบิชั่น แอนด์ แอดเวอไทซ์เมนท์ เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ วีส (Minh Vi Exhibition and Advertisement Services Co., Ltd. – VEAS) และบริษัท โนว่า เอ็กซิบิชั่น บีวี (Nova Exhibitions BV) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิทรรศการสำหรับพืชผลและพืชสวนจากประเทศเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งงาน ฮอร์เท็กซ์ ยังได้รับการสนับสนุนที่ดีเสมอมาจาก ไอพีเอ็ม เอ็สเซ่น (IPM Essen) ผู้จัดนิทรรศการด้านพืชสวนชั้นนำของโลกที่จัดขึ้นในเมืองเอ็สเซ่น ประเทศเยอรมนี ที่มีเครือข่ายที่กว้างขวาง

ด้วยเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วและแผนนโยบายของรัฐบาลเวียดนามในการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศเวียดนามจึงเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีศักยภาพสำคัญสำหรับผู้ผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตร รวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับข้าว เมื่อหกเดือนผ่านมาทางกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท หรือ มาร์ด (MARD) ของประเทศเวียดนามร่วมกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ หรือ เอียรี่ (IRRI) ได้เปิดตัวโครงการใหม่ “การพัฒนาที่ยั่งยืนของข้าวคุณภาพสูงและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าหนึ่งล้านเฮกตาร์ที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของพื้นที่สีเขียวในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงภายในปี 2573”

สำหรับการเปิดตัวนิทรรศการ งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ในประเทศเวียดนาม ในฐานะที่เป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตข้าวที่สำคัญที่สุดของโลก อุปกรณ์ข้าว เทคนิคใหม่ และโครงการระดับนานาชาติ” นางสาวรตติ วีระวงศ์ ผู้จัดการโครงการงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย เล็งเห็นโอกาสสำคัญในการเปิดตัวงานแสดงนิทรรศการด้านการเกษตรในประเทศเวียดนาม

นาย แนริโอ้ แอนโทนิโอ้ เอ็ม ซิบูโล่ (Mr. Nerio Antonio M. Sibulo) รองประธานสมาคมผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตร ของฟิลิปปินส์ กล่าวว่า งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย เป็นเวทีที่ดีสำหรับการสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมงานในอุตสาหกรรมเดียวกันและเป็นเวทีเพื่อการอัพเดทนวัตกรรมใหม่ๆ ในฐานะรองประธานสมาคมผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตร หรือ แอมด้า (AMMDA) และผู้นำเข้า สมาคมฯ มีความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับตลาดฟิลิปปินส์ การสนทนาของสมาคมฯประสบผลสำเร็จ ในอนาคตทางสมาคมฯ มีแผนในการเข้าร่วมงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ในประเทศเวียดนามในปี 2568 เช่นกัน เพราะถือเป็นเวทีที่ดีสำหรับการสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมงานในอุตสาหกรรม

 

ทั้งนี้สมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค (ดีแอลจี เอเชีย แปซิฟิก)สมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค มีสำนักงานตั้งอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ในการดำเนินงานในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน สมาคมฯ ก่อตั้งขึ้นในปี 2563 เพื่อตอบสนองความต้องการในท้องถิ่น โดยเฉพาะจากกระทรวงเกษตรในประเทศต่างๆ สำหรับความสามารถหลักของทางสมาคมฯ คือการนำเอาองค์ความรู้ทางการเกษตรระดับมืออาชีพ และด้วยการใช้ประสบการณ์และด้านฐานข้อมูลทั้งหมดที่มีด้านการเกษตรมาจัดเวทีการสัมมนา หรือจัดนิทรรศการด้านการเกษตร อาทิ งานประชุมและสัมมนา อะกริฟิวเจอร์ (AGRIFUTURE Conference) ซึ่งเป็นงานประชุมและสัมมนาที่มีการจัดหมุนเวียนระหว่างประเทศเพื่ออัพเดทถึงเทรนด์ต่างๆ ด้านการเกษตร หรืองานประชุมและนิทรรศการข้าวนานาชาติ (International Rice Congress Trade Fair) ที่จัดขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2566

ขณะเดียวกันทางสมาคมฯ ยังได้ร่วมมือกับนิทรรศการงาน ฟิวเจอร์แอ็ค เอ็กซ์โป โดย อะกริเทคนิก้า (FutureAg Expo – Powered by AGRITECHNICA) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายน 2567 รวมถึงกิจกรรมที่กำลังจะมีขึ้น ได้แก่งาน อะกริฟู้ด เทค เอ็กซ์โป เอเชีย (Agri-Food Tech Expo Asia) ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าที่ภายใต้กรอบที่เรียกว่าการเกษตรในสภาพแวดล้อมที่ควบคุม (Controlled Environment Agriculture – CEA) ร่วมกับ “การผลิตอาหารแบบใหม่” – ด้วยวิธีต่างๆ เช่น อาหารแนวอินวิโทร่ และการสร้างโปรตีนทางเลือก ซึ่งจะจัดขึ้นในสิงคโปร์ในเดือนพฤศจิกายน 2567

นิทรรศการโดยย่อของสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน ประจำภูมิภาคเอเชีย ประกอบด้วย: งาน อะกริฟู้ด เทค เอ็กซ์โป เอเชีย (Agri-Food Tech Expo Asia – AFTEA) ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2567
งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย เวียดนาม (AGRITECHNICA ASIA – Vietnam), นครโฮจิมินห์ซิตี้ ระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2568 งาน ฟิวเจอร์แอ็ค เอ็กซ์โป โดย อะกริเทคนิก้า (FutureAg Powered by AGRITECHNICA), เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 28-30 พฤษภาคม 2568