โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ศาสตราจารย์ Matin Qaim นักเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งมหาวิทยาลัยบอนน์ (University of Bonn) ในประเทศเยอรมันนี อธิบายว่า ในกระบวนการอนุญาตพืชดัดแปลงพันธุกรรมจะต้องลงทุนสูงถึง 50 ล้านยูโร และ บริษัทปรับปรุงพันธุ์พืชขนาดเล็กกำลังยอมรับความพ่ายแพ้ อุปสรรคของระบบเกิดจากความต้องการทางการเมืองและสังคม หากความต้องการเหล่านี้ลดลง บริษัทปรับปรุงพันธุ์พืชขนาดเล็กก็จะมีโอกาสในการทำธุรกิจเช่นกัน
Dr. Qaim ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ ZEF กล่าวหา การทำเกษตรอินทรีย์ว่า เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงไปตรงมาเมื่อพูดถึงพันธุวิศวกรรม และ การก่อกลายพันธุ์ เป็นการสร้างการกลายพันธุ์ในการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยการใช้สารเคมีหรือรังสี ซึ่งถูกจัดประเภทตามกฎหมายว่าเป็นพันธุวิศวกรรม และ ยังใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์ได้ด้วย แต่สิ่งนี้จะถูกเก็บเป็นความลับ
นักวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตร ไม่ยอมรับข้อกล่าวหาของฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับพันธุวิศวกรรม ที่มีต่อคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปว่าละทิ้งหลักการป้องกันไว้ก่อน ด้วยข้อเสนอที่จะให้ยกเลิกกฎระเบียบ
การใช้หลักการป้องกันไว้ก่อนควรใช้หากมีข้อบ่งชี้ความเสี่ยง แต่“หลังจาก 30 ปีของพันธุวิศวกรรม เราสามารถพูดได้ว่าไม่มีความเสี่ยงที่เกิดจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมใดจะสูงไปกว่าการปรับปรุงพันธุ์แบบปกติ” อุปสรรคของพันธุวิศวกรรม คือ ความเห็นแย้งกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่ง Dr. Qaim เตือนว่า “เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงนวัตกรรมได้…” และ พันธุวิศวกรรมสีเขียวเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องนำมาใช้เพื่อความยั่งยืน
ครับ เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า 30 ปีที่ผ่านมาของพันธุวิศวกรรม ไม่พบความเสี่ยงที่เกิดจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมใดจะสูงไปกว่าการผสมพันธุ์แบบปกติ และ พันธุวิศวกรรมสีเขียวเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องนำมาใช้เพื่อความยั่งยืน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www-topagrar-com.translate.goog/acker/news/prof-qaim-haelt-oekolandbau-fuer-unehrlich-20001615.html?_x_tr_sl=auto&_x_tr_tl=en&_x_tr_hl=en&_x_tr_pto=wapp