รอลุ้นผลทดสอบภาคสนามข้าวบาร์เลย์แก้ไขยีนด้วย CRISPR-Cas9 ในสวิตเซอร์แลนด์

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งสหพันธรัฐสวิส (Swiss Federal Office for the Environment) ได้อนุญาตให้ทำการทดสอบภาคสนามของข้าวบาร์เลย์แก้ไขยีนในฤดูใบไม้ผลิ การทดสอบภาคสนามนี้มุ่งเน้นไปที่ยีนข้าวบาร์เลย์ที่ถูกทำให้หยุดทำงานโดยใช้เทคนิค CRISPR-Cas9 เพื่อพิจารณาว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตได้หรือไม่

ยีน CKX2 เป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเมล็ด การหยุดการทำงานของยีนนี้โดยใช้การแก้ไขจีโนมด้วย CRISPR-Cas9 ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว และ oilseed rape นักวิจัยจาก Freie Universität Berlin สังเกตว่าข้าวบาร์เลย์มียีน CKX2 สองชุดที่แตกต่างกันเล็กน้อย และเมื่อร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันพันธุศาสตร์พืชและการวิจัยพืชไลบ์นิซ (Leibniz Institute of Plant Genetics and Crop Plant Research – IPK) จึงได้ผลิตสายพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ซึ่งยีนทั้งสองชุดจะถูกทำให้หยุดการทำงาน สายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมานี้พบว่ามีเมล็ดต่อรวงเพิ่มมากขึ้นในโรงเรือน

การทดสอบภาคสนามจะเริ่มในฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2567 ในพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองที่ Agroscope Zurich-Reckenholz และจะทำการทดสอบเป็นเวลาประมาณสามปี

ครับ คอยติดตามผลการทดสอบกัน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.agroscope.admin.ch/agroscope/en/home/news/media-office/press-releases.msg-id-100045.html