ซินเจนทา จับมือ มข.จัดงาน “ผสานเทคโนโลยีซินเจนทา สู่เกษตรกรมืออาชีพ” หวังถ่ายทอดนวัตกรรม “สารกระตุ้นทางชีวภาพ” หนุนทำเกษตรอย่างยั่งยืน(มีคลิป)

  •  
  •  
  •  
  •  

ซินเจนทา จับมือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงาน “ผสานเทคโนโลยีซินเจนทา สู่เกษตรกรมืออาชีพ”  เน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางชีวภาพ แก่ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก เกษตรกรผู้เพาะปลูก และนิสิตนักศึกษา กว่า 500 คน เพื่อช่วยในการรับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการทำเกษตรที่ปลอดภัยและยั่งยืน พร้อมโชว์แปลงสาธิตการปลูกพืชผักด้วยนวัตกรรม “สารกระตุ้นทางชีวภาพ” จากค่ายซินเจนทา ระหว่างวันที่ 27 – 29 กันยายนนี้ 

นายดำรงศักดิ์ เดี่ยววาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์อารักขาพืช บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันแนวโน้มความต้องการอาหารที่เพิ่มมากขึ้น นับเป็นโอกาสอันดีที่เกษตรกรในประเทศสามารถเพิ่มรายได้ แต่ด้วยสภาพอากาศที่ผันผวน รวมถึงปรากฎการณ์เอลนีโญรอบใหม่ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรเป็นวงกว้าง เกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาไม่สามารถเพาะปลูกได้ เพราะฝนทิ้งช่วง แล้ง ไม่มีน้ำเพียงพอในการเพาะปลูก รายได้เกษตรกรลดลง

ดังนั้น บริษัท ซินเจนทา ประเทศไทย จำกัด จึงจัดงาน “ผสานเทคโนโลยีซินเจนทา สู่เกษตรกรมืออาชีพ” ขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางชีวภาพ แก่ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก เกษตรกรผู้เพาะปลูก และนิสิตนักศึกษา กว่า 500 คน เพื่อช่วยในการรับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ขึ้น ภายในงานจะมีการถ่ายทอดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ปรับปรุงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรไทย

นายดำรงศักดิ์ กล่าวอีกว่า นวัตกรรมสารกระตุ้นทางชีวภาพนั้นดังกล่าว มีส่วนประกอบจากธรรมชาติเป็นสารสกัดจากสาหร่ายทะเล Ascophylum Nodusum จากแหล่งที่ดีที่สุดในยุโรป ผลิตด้วยเทคโนโลยี GEA POWER ซึ่งเป็นเทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะของซินเจนทา จึงทำให้ได้สาหร่ายสกัดที่มีคุณภาพ อุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ต่อพืชในปริมาณสูงและแตกต่างจากที่เคยมีมาก่อน มีชื่อเรียกว่า ‘เอ็มซี เซท’ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สารกระตุ้นทางชีวภาพ ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างตาดอก ให้ดอกและเกสรสมบูรณ์ ลดการหลุดร่วงของดอกและผล ส่งเสริมการสร้างเมล็ด

ในขณะที่ ‘เอ็มซี เอ็กซ์ตร้า’ เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการปรับสมดุลในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น ใบ ระยะการให้ผลผลิต ทำให้ทรงผลสวยสม่ำเสมอ และเพิ่มวงรอบการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ยังมี ‘อีสไบออน’ กรดอะมิโนเข้มข้น 62.5% ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ช่วยลดความเครียดของพืชจากสภาวะแห้งแล้ง หนาวจัด หรือสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ให้พืชต่อสู้ได้กับทุกสภาวะอากาศ เสริมประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหาร ช่วยให้พืชเจริญเติบโตสมบูรณ์

“เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานครั้งนี้จะสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศต่อผลผลิตของพืช และเรามั่นใจว่านวัตกรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์ของซินเจนทาจะช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับแก่เกษตรกร แม้ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและความสามารถตอบสนองความต้องการด้านความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งหัวใจหลักของซินเจนทาคือ‘นำศักยภาพของพืชสู่ชีวิต’ เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรอย่างปลอดภัยและมั่นคง นี่คือความมุ่งมั่นที่เรายึดมั่นเสมอมา” ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์อารักขาพืช บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น กล่าว

ด้าน รศ.ดร.ดารุณี โชติษฐยางกูล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับบริษัท ซินเจนทา มีการร่วมมือในด้านต่างๆมานานแล้ว โดยเฉพาะการรับนักศึกษาจากคณะเกษตรฯไปฝึกงานมาตลอด ที่สำคัญการจัดในครั้งนี้มีประโยชน์มากต่อภาคการเกษตรเนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีงานวิจัยด้านการเกษตรมากมาย ในขณะที่บริษัท ซินเจนทา มีเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยในระดับโลกจึงมาผสมผสมผลานเข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรให้มีผลผลิตมากขึ้นรองการการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศและความต้องการอาหารที่มากขึ้นในอนาคตด้วย

ขณะที่ รศ.ดร.สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับซินเจนทาในการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถรับมือกับสภาวะภัยแล้งโดยการปลูกพืชได้ปลอดภัยและอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีที่จะให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยฯได้ศึกษาและทดลองใช้นวัตกรรมสารกระตุ้นทางชีวภาพของซินเจนทาในการปลูกพืชผัก และเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งมหาวิทยาลัยและภาคเกษตรของประเทศไทย