มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขับเคลื่อน 9 มิติ “ระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” ต้านโรคร้าย “เบาหวาน- ไขมัน- ความดัน-มะเร็ง” ล่าสุดขนไปในงาน “มหกรรมยางพาราและพืชเศรษฐกิจ EEC 2023” ที่ จ.ระยอง พร้อมขยายผลในพื้นที่ 3 แห่ง หวังเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้สู่ชุมชน พร้อมชูท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในพื้นที่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันนอก
ผศ.ดร.สถาพร แสงสุโพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขับเคลื่อนโครงการแนวทาง “ระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” ล่าสุดได้ไปขับเคลื่อนและเปิดบูธในงานมหกรรมยางพาราและพืชเศรษฐกิจ EEC 2023 ที่ อ.วังจันทร์ จ.ระยองที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ร่วมกับ สมาคมวิชาการและถุงมือยาง และสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพ ซึ่งในงานนี้ ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ได้ร่วมยื่นหนังสือ “ระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” แก่ต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสที่เป็นประธานเปิดงาน
เพื่อผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติว่าจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทั้ง ในด้านสุขภาพที่ผู้คนต้องเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือที่เรียกว่า NCDs ซึ่งย่อมาจาก Non-Communicable diseases ที่มีปริมาณเพิ่มมากขั้น เช่น เบาหวาน, ไขมัน, ความดัน และมะเร็ง อันเกิดจากฐานการผลิตระบบการเกษตรที่ใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็นส่งผลให้อาหารมีการปนเปื้อนกับสารเคมีทำให้อาหารไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและส่งผลร้ายต่อสุขภาพตามมา ซึ่งจากประเด็นปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นทำให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้สร้างองค์ความรู้เพื่อมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยใช้องค์ความรู้ที่ทำวิจัยคือเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมโดย มี หลักการ 9 มิติ คือ
1.การเกษตรไร้สารเคมี 2.ผลิตอาหารเพื่อ สุขภาพ 3.สปาสุขภาพเพื่อฟื้นฟูร่างกาย 4.ระบบเศรษฐกิจ ชุมชน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ 5.สร้างสังคมแห่งความสุข 6.สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ประเพณี วัฒนธรรม 7.เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม/ BCG 8.การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 9.ศูนย์วิจัยพัฒนา และศูนย์เรียนรู้ ด้านเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม มาเพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบ ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านสุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม
“ตอนนี้เราก็มีการขยายไปยังหลายพื้นที่ ทั้งในพื้นที่ของภาคตะวันออกเขียงเหนือที่ จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย จังหวัดสกลนคร อันนี้ก็เป็นพื้นที่หนึ่งที่เราจะต้องขยายออกไป ในส่วนที่สองล้านนาตะวันออก จังหวัดแพร่ น่าน พะเยา ส่วนภาคตะวันออกตอนนี้ที่เราขยายไปก็จะมีจังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี ส่วนในเชียงใหม่นี้มีหลายจุด อีกจุดหนึ่งที่เรากำลังพัฒนาอยู่ที่ ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และรวมทั้งมีอีกหลายที่ที่เสนอเข้ามา ซึ่งเราก็จะทำการฝึกอบรมแล้วก็ขยายผลต่างๆ นี้ไปยังชุมชน” ผศ.ดร.สถาพร กล่าว
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวอีกว่า ตอนนี้อีกประเด็นหนึ่งที่กำลังทำการเผยแพร่ก็คือแห่งชาติศรีลานนา อุทยาน อันนี้ก็จะเป็นหมู่บ้านห้วยราชบุตร ที่กำลังจะนำองค์ความรู้นี้ไปเผยแพร่ เพราะว่าเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีสุ่มเสี่ยงเรื่องหมอกควันไฟป่า รวมทั้งโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาในเรื่องของการเกษตรที่ไร้สารเคมี การนำเอาวัตถุดิบที่เผา เอามาแก้ปัญหาในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และก็กำลังจะขยายไปในกลุ่มของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศ สปป.ลาว คือที่หลวงพระบางกับที่เวียงจันทน์
สำหรับระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นระบบที่สามารถที่จะเกื้อกูลกันเรื่องของมิติในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งตอนนี้ก็ได้นำเอาในส่วนของอีกสองประเด็นหลักๆ ที่เข้ามาร่วมในเรื่องของ BCG ซึ่ง BCG นี้พูดถึงระบบเศรษฐกิจสีเขียว ระบบหมุนเวียนต่าง ๆ ก็จะสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่ได้เอาสิ่งที่เหลือใช้ต่าง ๆ เข้ามาหมุนเวียนมาใช้ในระบบสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมของเรา รวมทั้งก็จะก้าวข้ามไปสู่ในเรื่องของ SDG Model พูดถึงความมั่นคงของชีวิต ในเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม ตัว BCG Model เอง และ SDGs. Model เอง ก็จะเป็นมิติสามส่วนที่ร่วมผนึกกำลังกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างแบบองค์รวม เพราะว่าเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้ไม่สามารถที่อยู่ได้ด้วยตัวของโดยระบบเองได้ก็คงจะต้องใช้ตัวระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศที่ประเทศได้กำหนดเอาไว้แล้วเอามาช่วยในการขับเคลื่อน ซึ่งตัว BCG เอง ปัจจุบันนี้รัฐบาลก็กำลังขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวมไปถึง SDG.Model ซึ่งเป็นเป้าหมายของสหประชาชาติ อันนี้สุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมของเราก็มีบทบาทที่สำคัญที่จะช่วยให้ในส่วนของ BCG และ SDGs สามารถที่จะประสบความสำเร็จได้
ด้าน ผศ.ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีสกุล คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ม.แม่โจ้ ได้เปิดเผยนโยบายถึงการนำแนว ระบบเกษตรสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยแม่โจ้เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดระบบดังกล่าวและมีนโยบาย พัฒนาโครงสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พร้อมขับเคลื่อนไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ สู่ชุมชนว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้นำระบบ “เกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” มาใช้ในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างความมั่นคง ทางด้าน อาหาร โดยอาหารที่ผลิตขึ้นต้องเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ และต้องมีปริมาณเพียงต่อความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งการผลิตต้องไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งการเผาป่าจนก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และเกิดหมอกควันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งแปรผันโดยตรงนี้ส่งผลทำให้อาหารมีราคาแพงเพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ ส่งผลพวงให้เกิดปัญหาด้าน อื่นๆ เช่น ภาวะโรคติดต่อ และเกิดปัญหาการว่างงานการว่างงานตามมา
ทั้งนี้นโยบายเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม ก็เป็นเรื่องที่สำคัญของมิติของการพัฒนา เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเนื่องจากว่าผลกระทบสู่ภายนอก การผลิต การบริโภค และการจำหน่ายจ่ายแจก หรือกิจกรรมของมนุษย์ทั้งหมด ล้วนแต่ที่ใช้ทรัพยากร เพราะฉะนั้นการใช้ทรัพยากรมันมีผลกระทบในเรื่องดุลยภาพในหลาย ๆ เรื่อง หรือมีผลกระทบด้านอื่นในหลายๆ เรื่อง เพราะฉะนั้นในการพัฒนา มติในการพัฒนายั่งยืนจึงให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ เรื่องของทุนธรรมชาติ ที่วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้สอนเกี่ยวกับเรื่องการบริหารสาธารณะ การบริหารสาธารณะคือการทำประโยชน์เพื่อสาธารณะนั่นเอง
ส่วนที่สองเดี๋ยวนี้เอกชนเองเค้าก็หักมาทำกิจกรรมประโยชน์เพื่อสาธารณะ โดยเฉพาะเรื่องกิจกรรม CSR. หรือ ธุรกิจเพื่อสังคมอันนี้ก็เกี่ยวข้องกับคนหมู่มากสาธารณะ และอีกภาคหนึ่งที่สำคัญคือภาคประชาสังคม ภาคชาวบ้านเองก็มีส่วนร่วมที่จะทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ เพราะฉะนั้นในมิติของการสอนบริหารสาธารณะ มีสอนอยู่ 2 เรื่องก็คือเรื่องของการพัฒนาระบบบริหารองค์กรสาธารณะให้มีความแข็งแรง แล้วองค์กรสาธารณะเหล่านี้ก็ไปทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ ในมิติของการบริหารการพัฒนา
เพราะฉะนั้นนโยบายในการบริหารการพัฒนาโลก เค้ามองอยู่ 2 กระแสหลักก็คือ หนึ่งกระแสก็คือพูดถึงความก้าวหน้า ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ก็คือต้องใช้ทรัพยากร โดยใช้ทรัพยากรของโลก เพราะฉะนั้นการใช้ทรัพยากรของโลกเยอะมากขึ้น หรือมนุษย์อยู่ในโลกของทุนนิยม อยู่ในโลกของการบริโภคมากขึ้น ผลกระทบก็มีมากมายตั้งแต่ระดับสังคม ระดับชุมชน ระดับบุคคลเลย โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพระดับบุคคล เรื่องของสุขภาพเรียกว่าโรคติดต่อ ไม่ติดต่อร้ายแรงที่เรารู้จัก ความดัน เบาหวาน พวกโรคมะเร็งอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ถือว่าเป็นภัยทางสาธารณะอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งเรื่องของสิ่งแวดล้อมก็เหมือนกัน
ดังนั้นวิทยาลัยบริหารศาสตร์เองสอนเกี่ยวกับเรื่องนโยบายสาธารณะ สอนเกี่ยวกับเรื่องการบริหารการพัฒนา เพราะฉะนั้นผมจึงมีนโยบายที่สำคัญก็คือว่าจะทำอย่างไรเราจะบูรณาการภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะภาครัฐ เอกชน ประชาคม ชาวบ้าน ชุมชนให้มามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนตัวนโยบายสาธารณะ ในเรื่องของเกษตร อาหารและสุขภาพ ก็มีนโยบายให้ทางฝั่งของวิจัยและบริการวิชาการไปทำต้นแบบหรือที่เรียกว่า Social Lab แล้วก็เป็นแหล่งฝึกให้แก่นักศึกษาของเราในระดับปริญญาโท ปริญญาเอกให้เรียนรู้ถึงนโยบายเหล่านี้ เพราะฉะนั้นเนี่ยก็ส่วนหนึ่งก็เป็นการตอบสนองนโยบายการพัฒนาระดับโลก ระดับประเทศ และระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้เองก็เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นเรื่องของการเกษตร เรื่องของอาหารและสุขภาพ ซึ่งก็มองในเรื่องของเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก
สำหรับพื้นที่ จ.ระยอง เมืองท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งของประเทศไทย ในเขต EEC โดยทาง ม.แม่โจ้ได้มีเครือข่ายเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม 3 แห่ง คือ 1.สวนหอมมีสุข ต.กระเฉด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง 2.ชมรมจิตอาสาราชประชาสมาสัย อ.เมืองระยอง 3.หาดแสงจันทร์รีสอร์ท ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง จ.ระยอง ซึ่งจะได้มีแผนการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่มีความพร้อมที่ได้นำองค์ความรู้ด้านเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมไปใช้ในการพัฒนาพื้นที่สร้างต้นแบบแห่งการเรียนรู้และปฏิบัติจริงเกิดผลสัมฤทธิ์แล้ว รวมทั้งจะได้นำการวิจัยและพัฒนาตลอดจนองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยมีศูนย์การเรียนรู้พร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมขยายผลสู่พี่น้องประชาชนและผู้ที่สนใจ ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ก้าวสำคัญของแนวนโยบายมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่จะได้ขับเคลื่อนให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อนำแนวทางดังกล่าวไป ขยายผลสู่การพัฒนา ชุมชน, ท้องถิ่น และในระดับประเทศให้ครอบคลุมช่วยแก้ไขปัญหา เกิดความยั่งยืนในชีวิตต่อไป