จัดยิ่งใหญ่งาน “มหกรรมยางพาราและพืชเศรษฐกิจ EEC 2023”เป้าหมายให้ยางเป็นคลัสเตอร์ที่ 6 ในแผนฯ EECหวังดันไทย ” Hub ยางพาราโลก”

  •  
  •  
  •  
  •  

สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางฯ จับมือเครือข่ายรัฐ-เอกชน และสถาบันการศึกษา รวมพลังจัดงาน “มหกรรมยางพาราและพืชเศรษฐกิจ EEC 2023” ยิ่งใหญ่่ นายกฯเป็นประธานเปิดงาน หวังผลักดันพืชยางพาราให้เป็นเป้าหมายคลัสเตอร์ที่ 6 ในแผนฯ EEC ชูให้ยางพาราเป็นพืชวาระแห่งชาติของประเทศไทย ที่พร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางยางพารา ( Hub) ในเวทีการค้าโลก

      เมื่อวันที่  22 กุมภาพันธ์ 2566) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดงาน  “มหกรรมยางพาราและพืชเศรษฐกิจ EEC 2023” จัดโดยสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย สมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ณ ตลาดกลางยางพาราภาคตะวันออก ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

นายอำนวย ปะติเส ประธานสมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง  และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานจัดงาน “มหกรรมยางพาราและพืชเศรษฐกิจ EEC 2023” กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อผลักดันพืชยางพาราให้เป็นเป้าหมายคลัสเตอร์ที่ 6 ตามแผนปฏิบัติการพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พ.ศ. 2566 – 2570  รวมทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องมีความกระตือรือร้น ด้านการสร้างความร่วมมือของประเทศผู้ผลิตยางพารา ทั้งเกษตรกรสวนยางพารา อุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์

      โดยเน้นความต้องการของผู้บริโภค การประยุกต์ และการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดสินค้าเกษตร ให้เกิดการกระจายรายได้สู่เกษตรกร ภายใต้การขับเคลื่อน “โครงการเกษตรปลอดภัยครัวไทยสู่ครัวโลก” และ “ระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” เพื่อแก้ปัญหาภาพรวมเศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้ยั่งยืน โดยงานนี้ จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 22 – 26 ก.พ. พ.ศ. 2566 ณ ตลาดกลางยางพาราภาคตะวันออก ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง 

ด้านนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ทาง กยท.มีการขับเคลื่อนในการดำเนินของหน่วยธุรกิจเพื่อวางรากในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราในอนาคต ด้วยการนำเทคโนโบยีและนวัจกรรมมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมยางพาราที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  เพื่อยกระดับของอุตสาหกรรมอย่างพาราของไทย

      ขณะที่นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวสวนยาง กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านยางพาราที่มีผลผลิตยางพารามากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นจุดได้เปรียบด้านวัตถุดิบที่จะป้อนโรงงานอุตสาหกรรมยางพารา จากข้อมูลของ กองการยาง กรมวิชาการเกษตร ระบุว่า ประเทศไทยส่งออกยางพารา เป็นอันดับหนึ่งของโลก มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 และยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศ เป็นอันดับหนึ่งในทุกๆ ปี

     ทั้งนี้ในปี พ.ศ.2564 มีข้อมูลรายงานว่า ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตยางพารา 5,168,837 ตัน สร้างรายได้กว่า 5 แสนล้านบาท ส่งออกในรูปยางดิบ 4,176,529 ตัน คิดเป็นร้อยละ 80.80 ของผลผลิตยางพารา และใช้ภายในประเทศเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ 925,808 ตัน คิดเป็นร้อยละ 17.91 ของผลผลิตยางพารา โดยมีมูลค่าการส่งออกยางพาราดิบ 175,977 ล้านบาท และมูลค่าส่งออกในรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา 379,424ล้านบาท”

อุทัย สอนหลักทรัพย์

       จากข้อมูล ดังกล่าวนี้ จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างกลยุทธ์ เพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนจากทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศไทย และเร่งรัดให้มีการใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และ สมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง จึงได้ร่วมมือกัน จัดงาน “งานมหกรรมยางพาราและพืชเศรษฐกิจ EEC 2023” ขึ้น โดยได้ร่วมกับเครือข่ายสถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางพารา ทั้งจาก วิสาหกิจชุมชนและจากผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs.)

        เพื่อให้นักลงทุนต่างประเทศได้มองเห็นถึงศักยภาพของอุตสาหกรรม SMEs ผลิตภัณฑ์ยางพารารายย่อย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญด้านวิจัยและพัฒนา (R & D) การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาจุดอ่อนในภาคอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา และเป็นการจับคู่ธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารากับผู้ที่สนใจที่จะร่วมลงทุน เพื่อมุ่งเน้นที่จะใช้การตลาดนำการผลิต(Demand Pull) มุ่งเน้นการเชื่อมโยงภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรมให้เป็นระบบเดียวกัน เน้นการประยุกต์และพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอุตสาหกรรม ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565

        สำหรับ กิจกรรมในงาน ดังกล่าว ประกอบด้วยนิทรรศการจากหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา และร้านค้าเอกชน นอกจากนี้ ผู้ร่วมงานยังสามารถเข้ารับฟังสัมมนา / เสวนาวิชาการ รับความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตามที่ตลาดโลกต้องการ  และการเชื่อมโยงรองรับการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก/ EEC ซึ่งมีความพร้อม ตามมติคณะรัฐมนตรีด้านการเกษตร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ ยังมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยางพารา สินค้าอุปโภค – บริโภค และปัจจัยการผลิตทางการเกษตรและสินค้าอื่นๆ  ตลอดจน เวทีการแสดงของศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงจากค่ายต่าง ๆ มาร่วมด้วยช่วยกันภายในงาน ดังกล่าว

       นายอุทัย กล่าวอีกว่า การจัดงานมหกรรมยางพาราและพืชเศรษฐกิจ EEC  2023  ครั้งนี้ ผมขอกราบขอขอบพระคุณเอกชน ห้างร้าน ต่างๆ ทุกท่านที่ได้ “ร่วมด้วย ช่วยกัน” สนับสนุนงบประมาณจัดงานดังกล่าว  ซึ่งงานครั้งนี้ เกิดจากแนวความคิดของสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย สมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทำให้เกิดพลังสำคัญครั้งใหญ่ รวมทั้ง หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในจังหวัดระยอง และหน่วยงานภายนอกจังหวัด  เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการทางวิชาการ  การแสดงมหรสพ – เวที เพื่อให้ความบันเทิง  การจำหน่ายสินค้าอุปโภค -บริโภคต่าง ๆ อาทิ ตลาดนัดสะพานพุทธ และอื่น ๆ

      เป้าหมายสำคัญในการจัดงานครั้งนี้  เพื่อผลักดันพืชยางพาราให้เป็นเป้าหมายคลัสเตอร์ที่ 6 ตามแผนปฏิบัติการพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พ.ศ. 2566 – 2570  ปี พ.ศ. 2566 ซึ่งผมได้ไปยื่นหนังสือแก่ ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี เมื่อคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)  เมื่อ วันที่ 1 ก.พ. พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา  รวมทั้ง เป็นภาพแสดงการขับเคลื่อนการจับคู่ธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารากับผู้ที่สนใจในการที่จะร่วมลงทุน เพื่อมุ่งเน้นที่จะใช้การตลาดนำการผลิต (Demand Pull) การเชื่อมโยงภาคการเกษตรกับภาคอุตสาหกรรม ให้เป็นระบบเดียวกันโดยเน้นการประยุกต์และพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอุตสาหกรรม ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เป็นครั้งแรกในงานนี้

        นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอการเชื่อมโยงการนำนวัตกรรมการตรวจวัดคาร์บอนเครดิตในสวนยาง กับ บ.วารุณา ในเครือปตท. และบ. SCGC ในเครือปูนซีเมนต์ไทย พื้นที่สวนยาง จ.ระยองร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย เพื่อผลักดันสู่การซื้อขายคาร์บอนเครดิต สร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง  นิทรรศการ และ การอบรมความรู้ “เรื่องระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” อันเป็นผลงานการวิจัยพัฒนา เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ของ ทีมนักวิจัย วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ตอบโจทย์ กระบวนการ BCG. Model  และ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน /SDGs Model ตามกรอบเป้าหมายของสหประชาชาติ/ UN. ร่วมกับเครือข่ายจังหวัดระยอง  และความเชื่อมโยงการขอสนับสนุนมอบทุนการศึกษาทุนแลกเปลี่ยนไทย – จีน ให้กับลูกหลานเกษตรกร  เป็นต้น

        “ผลของการจัดงานครั้งนี้ ผมหวังว่าจะได้รับการตอบรับและการผลักดันจากรัฐบาล เกิดการเชื่อมโยงระหว่างภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราอย่างเป็นระบบ สามารถดึงนักลงทุนอุตสาหกรรม และ อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม/ SMEs. ทั้งไทยและต่างประเทศ ได้มาร่วมลงทุนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก/ EEC. เพิ่มขึ้น สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพเสริมต่อเกษตรกรชาวสวนยาง และ พืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆ ของจังหวัดระยอง และ ภาคตะวันออก ทั้งนี้ มุ่งหวังให้รัฐบาลเห็นความสำคัญพืชเศรษฐกิจยางพาราของประเทศไทย พร้อมทั้ง ผลักดันให้ “ยางพาราเป็นพืชวาระแห่งชาติ ก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางยางพารา ( Hub) ของโลก เกิดความมั่นคงด้านอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา อีกทั้ง การผลักดัน ระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้เป็นวาระประเทศไทย โดยมี เป้าหมาย (Goal) สร้างความมั่นคงทางอาหาร ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้ตัวชี้วัด (Target) อันจะส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนายางพาราและพืชเศรษฐกิจภาคตะวันออกในองค์รวมเกิดความยั่งยืนต่อไป” นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวสวนยาง

       ส่วนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลง ราคายางตกต่ำต้องคิดกันว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรที่จะให้ราคาขยับขึ้นซึ่งปัจจุบันราคาอยู่ กก.ละ 50 บาท รัฐบาลประกัยรายได้ที่ กก.ละ 60 บาท ทั้งที่ประเทศไทยเป็นประเทศผลิตยาพาราเป็นอันดับต้นของโลก.แต่เราต้องอาศัยตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตามภาคการเกษตรต้องยอมรับว่าหลายอย่างราคาต่ำ ฉะนั้นต้องหาทางว่า จะทำอย่างให้เกษตรกรอยู่นั่นคือการลดต้นทุน และการแปรูปเป็นต้น (รายละเอียดในคลิป)