เล็งใช้ “บั้งไฟ” ทำฝนหลวงแก้ภัยแล้ง ต้นทุนสุดประหยัด

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

เก็บตกมาจากการ “ประชุมวิจัยร่วมเพื่อสร้างดาวเทียมขนาดเล็ก” จัดโดยศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ หรือ ศวอ.ทอ.เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 ณ ห้อง ศวอ.ทอ. เพื่อหารือระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)หรือจิสด้า  บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กรมป่า สมาคมลูกเสืออากาศ และสมาคมชาวยโสธร โดยมี พลอากาศโท ฐากูร  นาครทรรพ ผู้อำนวยการ ศวอ.ทอ.เป็นประธานการประชุม

ในที่ประชุมได้เน้นการหารือความเป็นไปได้ที่สร้างดาวเทียมขนาดเล็กโคจรในอวกาศที่ไม่สูงนัก เพื่อใช้ประโยชน์เองในด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเกษตรหรือพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศเพื่อการเกษตร เพื่อให้เกิดคสวามแม่นยำ ลดความเสียหายในการเพาะลูกได้

นับเป็นครั้งแรกที่กองทัพอากาศให้ความสำคัญในด้านเทคโนโลยีอาวกาศมาใช้ภาคเกษตร ซึ่งทางกองทัพอากาศมีความพร้อมในด้านบุคลากรในด้านนี้อยู่แล้ว เพื่อนำใช้ประโยชน์ได้หลายๆด้านโดยเฉพาะการพยากรณ์สภาพภูมิกาศล่วงหน้า การชี้พิกัดของพายุ ฝนฟ้า การทำนวนคุณภาพของดินเพื่อให้การเพาะปลูกมีความแม่นยำและลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจในการใช้เทคโนโลยีอาวกาศมาแก้ปัญหาเรื่องของภัยแล้งที่ซ้ำซากมาปีแล้วปีเล่า ในจำนวนนี้มีการหารือในการที่จะประยุกต์ประเพณีบั้งไฟติดพลุสารดูดความชื้น มาทำฝนเทียม ซึ่ง    พลอากาศโท ฐากูร  บอกว่า การนำบั้งไฟมาดัดแปลงมาทำฝนเทียมสามารถทำได้ และยืนนันว่าทำได้แน่นอน ทาง ศวอ.ทอ.มีบุคลากรพร้อมที่ช่วยในด้านนี้เพียงแต่ศึกษารายละเอียดปลีกย่อยเท่านนั้น

พลอากาศโท ฐากูร  มั่นใจว่า ปัญหาภัยแล้งของประเทศไทยถ้าร่วมมือร่วใจอย่างจริงจังสามารถปัญหาภัยแล้งได้แน่นอน ล่าสุดทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตรร่วมมือกับกองทัพอากาศที่ทาง ศวอ.ทอ. ได้มีการพัฒนาเครื่องบินเป้าอากาศไร้คนขับติดตั้งพลุสารดูดความชื้น เพื่อทำฝนเทียมแล้ว และได้เครื่องต้นแบบเป็นที่เรียบร้อย แต่ยังไม่เปิดตัว และพร้อมที่จะผลิตออกมาตามที่กรมฝนหลวงฯต้องการ

ผู้อำนวยการ ศวอ.ทอ. บอกว่า เครื่องบินเป้าอากาศไร้คนขับต้นแบบสามารถบินได้ในรัศมี 30 กิโลเมตร ติดพลุสารดูดความชื้น ซึ่งมีราคาถูกมากบรรจุกระบอกมีราคาเพียง 3,000 บาทเทียบเท่่ากับการใช้สารทำหลวงถึง 150 กิโลกรัม ทำให้ต้นทุนทำฝนเทียมถูกมากอยู่หลักพัน หรือหลักหมื่นบาทต่้นๆ

ขณะที่ใช้เครื่องบินฝนหลวงมีต้นต่อเที่ยวนับแสนบาท จึงมั่นใจว่า หากมีเครื่องบินไร้คนขับใช้พลุสารดูความชื้นมาทำฝนหลวง มีถึง 100 ลำสามารถจะแก้ปัญหาภัยแล้งในประเทศไทยได้แน่นอน ประหยัดอีกด้วย(รายละเอียดในคลิป)