นักวิจัย มก.ศรีราชา ผลิตหน้ากาก-กล่องป้องกันเชื้อโควิด-19 ฟุ่งกระจายได้สำเร็จ ใช้สำบนโต๊ะตรวจและเตียงผู้ป่วย

  •  
  •  
  •  
  •  

 

นักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สามารถผลิตหน้ากาก-กล่องป้องกันเชื้อโควิด-19 ฟุ่งกระจายได้สำเร็จ ใช้ง่ายสำหรับบนโต๊ะตรวจรักษา และกับเตียงผู้ป่วย ล่าสุดได้ส่งมอบให้โรงพยาบาลไทรโยค กาฐจนบุรี  ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ โรงพยาบาลซานคามิโล จ.ราชบุรี

     หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีดิจิทัลการออกแบบและผลิตทางอุตสาหกรรม (Digital Industrial Design and Manufacturing Reseach Unit, DIDM) คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชานำโดย ผศ.ดร.ณัฐพล จันทร์พาณิชย์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯได้ทําการออกแบบและผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือที่จําเป็นสําหรับบุคลากรทางการแพทย์

                                                                                  หน้ากากป้องกันเชื้อ

    ทั้งนี้เพื่อสู้กับไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เช่น Facesheild หรือหน้ากากสําหรับป้องกันเชื้อ และกล่องป้องกันเชื้อฟุ่งกระจาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์และเป็นไปตามความต้องการของโรงพยาบาลในสถานการร์การแพร่ระบาดของโงรัสโควิด-19 ในช่วงนี้

     Facesheild ป้องกันเชื้อโรค 180 องศา ทำจากวัสดุ PLA และ ABS สามารถทำความสะอาดนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมถึงมีอุปกรณ์คงรูป ช่วยให้ไม่เสียรูปหรือหลุดออกระหว่างการทำงาน นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รัดที่ยืดหยุ่นใส่แล้วไม่อึดอัด ส่วนกล่องป้องกันเชื้อฟุ่งกระจาย สามารถใช้งานได้ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1.ใช้กับโต๊ะตรวจรักษาเหมือนใน OPD และรูปแบบที่ 2.ใช้กับเตียงผู้ป่วย

                                                                                              กล่องป้องกันเชื้อ

     ทั้งนี้ หน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการออกแบบและผลิต ร่วมกับหน่วยงานภายนอกที่ให้การสนับสนุนงบประมาณและเครื่องมือที่จําเป็น เช่น สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ฯลฯ

        สำหรับหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯนั้น มีพันธกิจหนึ่งที่สำคัญก็คืองานวิจัยและพัฒนาด้านเครื่องมือแพทย์ โดยที่ผ่านมาได้ทํางานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยที่เป็นโรงเรียนแพทย์ต่างๆ และสถานประกอบการเครื่องมือแพทย์ เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นจึงได้หารือระหว่างสมาชิกของหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ ทุกคนเพื่อร่วมมือร่วมใจกันทำงานช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์ดังกล่าว


      หน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ เริ่มการออกแบบและผลิตเครื่องมือที่จำเป็นทางการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ปัจจุบันได้ส่งมอบ Faceshield ไปให้ โรงพยาบาลไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี จํานวน 20 ชิ้น และจะส่งมอบในช่วง 8-10 เมษายน 2563 นี้ ให้กับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี (Faceshield จํานวน 25 ชิ้น และกล่องป้องกันเชื้อฟุ่งกระจาย 2 กล่อง) และ โรงพยาบาลซานคามิโล จ.ราชบุรี(Faceshield จํานวน 20 ชิ้น)

      สำหรับบุคลากรของหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ ที่ร่วมจัดทําเครื่องมือที่จําเป็นสําหรับบุคลากรทางการแพทย์ ประกอบด้วย ผศ.ดร. ณัฐพล จันทร์พาณิชย์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ, อ.ดร.สุจินต์ วันชาติ อาจารย์, อ.ธรรมนุวัฒน์ วาลีประโคน อาจารย์,อ.ประสิทธิชัย ณรงค์เลิศฤทธิ์ อาจารย์, อ.จิรวัฒน์ จิตประสูทวิทย์ อาจารย์, นาย เมลวิน สแตนลีย์ วีระสกุล ผู้ช่วยนักวิจัย, นาย ณัฐนนท์ ขุนทอง ผู้ช่วยนักวิจัย, นางสาว วลีรัตน์ พุทธาศรี ผู้ช่วยนักวิจัย, และ นายทีปกร แก้วสอางค์ ช่างเทคนิค

      ผู้สนใจติดต่อสอบถาม หรือ สมทบทุนสนับสนุนการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้ที่ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีดิจิทัลการออกแบบและผลิตทางอุตสาหกรรม