กรมวิชาการเกษตรโชว์15 ผลงานวิจัยเด่นในรอบปี ชี้เป็นผลงานที่ตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาการผลิตภาคเกษตรของไทย และสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตร ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร เครื่องจักรกลให้สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต ทำให้สินค้าเกษตรมีคุณภาพ ต้านทานโรคแมลงศัตรูพืชแบบยั่งยืน
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประะธานเปิดงานมอบรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2562 ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ปฏิรูปภาคเกษตรไทย ด้วยงานวิจัยและพัฒนา” ว่า ปีนี้กรมวิชาการเกษตร มีผลงานวิจัยดีเด่นได้รับรับรางวัลถึง 15 ผลงานด้วยกัน ซึ่งผลงานทั้งหมดล้วนมุ่งตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาการผลิตภาคเกษตรของไทย ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรในการแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร เครื่องจักรกลให้สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต ทำให้สินค้าเกษตรมีคุณภาพ ต้านทานโรคแมลงศัตรูพืชแบบยั่งยืน
ทั้งนี้ การประชุมวิชาการของกรมวิชาการเกษตรที่จัดขึ้นทุกปี ถือเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยได้มาพบปะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ซึ่งปัจจุบันสังคมและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว งานวิจัยจึงต้องปรับตัวให้รวดเร็วยิ่งขึ้นทันกับยุคดิจิทัลและนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งในอนาคตกรมวิชาการเกษตรจะร่วมมือกับนักวิจัยของภาคเอกชนมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหานักวิจัยที่มีจำนวนจำกัด
ด้านนางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ผลงานวิจัยดีเด่น จำนวน 15 ประกอบด้วยผลงานวิจัยดีเด่นประเภทงานวิจัยพื้นฐาน จำนวน 1เรื่อง ประเภทงานวิจัยปรับปรุงพันธ์ จำนวน 1เรื่อง ผลงานวิจัยดีเด่นที่ได้รับรางวัลในระดับดีอีก 7 เรื่องและผลงานวิจัยดีเด่น ระดับชมเชย อีก 6 เรื่อง
สำหรับหรับผลงานวิจัยดีเด่น ประเภทงานวิจัยพื้นฐาน ได้แก่ เรื่อง”ชีววิทยา การเพาะเลี้ยง ประสิทธิภาพการกินเหยื่อและผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนตัวห้ำ” เจ้าของผลงานคือ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชพัฒนาการอารกขาพืช ประโยชน์ของผลงานวิจัยคือ เป็นการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรเพื่อลดระดับความเสียหายจากศัตรูพืช โดยช่วยควบคุมประชากรแมลงศัตรูพืชให้ไม่สูงจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืช และเป็นการลดปัญหาสารตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม หากนำผลงานวิจัยดังกล่าวไปต่อยอด เพื่อนำไปใช้ในการควบคุมศัตรูพืชที่สำคัญ เช่น เพลี้ยไฟ ไรแดงจะสามารถลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ส่วนผลงานวิจัยดีเด่น ประเภทงานวิจัยปรับปรุงพันธ์ที่คว้ารางวัลคือ เรื่อง “ตากฟ้า 6 พันธุ์ฝ้ายเส้นใยสีน้ำตาล”เป็นผลงานของสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน ประโยชน์ของผลงานวิจัยชิ้นนี้คือ พัฒนาพันธุ์ฝ้ายให้มีคุณสมบัติพิเศษ มุ่งเน้นความเป็นเส้นใยธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความนิ่มนวล และมีสีน้ำตาลตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการฟอกย้อมเพื่อให้ลดต้นทุนแรงงาน ลดขั้นตอนและเวลาในการฟอกย้อมสี อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้ใช้ และลดมลภาวะน้ำเสียที่เกิดจากการฟอกย้อม
นอกจากจากผลงานดีเด่น ทั้ง 2 เรื่องแล้ว นี้ยังมีผลงานวิจัยดีเด่นที่ได้รับรางวัลในระดับดีอีก 7 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การศึกษาปริมาณสารพิษตกค้างในสินค้าเกษตรส่งออกไป สาธารณรัฐเกาหลี นำเสนอโดยกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 2.ชีวภัณฑ์บีเอสควบคุมโรคกุ้งแห้งพริกสู่การใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มผลผลิตพริก เพื่อเพิ่มผลผลิตพริก นำเสนอโดยสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช 3. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนในจังหวัดตรัง นำเสนอโดย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จ.สงขลา4.ลูกผสมสามทางมะพร้าวทางเลือกใหม่ยกระดับรายได้ ชาวสวนยุค 4.0 นำเสนอโดยสถาบันวิจัยพืชสวน
5.วิจัยและพัฒนาชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินและชุดตรวจสอบคุณภาพน้ำทางการเกษตร นำเสนอโดยกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 6.การพัฒนาเครื่องดรัมดรายต้นแบบเพื่อผลิตแป้งพรีเจลลาในการทำผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหาร นำเสนอโดยกองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร 7.การพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ สู่มาตรฐานสากลนำเสนอโดยกองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช
ขณะที่ผลงานวิจัยดีเด่น ระดับชมเชย อีก 6 เรื่องประกอบด้วย 1. การสร้างคลังฝาแอนติบอดีด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เพื่อประยุกต์ใช้ทางการเกษตร ผลงานของ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ 2. ศึกษาชนิดของเชื้อราที่ปนเปื้อนพริกขี้หนูระหว่างการเก็บ รักษาและวิธีการควบคุม ผลงานของ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และแปรรูปผลิตผลเกษตร 3. จากผลงานวิจัยสู่ไร่นา พัฒนาสู่อุตสาหกรรมในชุมชน ผลงานของ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่
4 จ.อุบลราชธานี 4. อ้อยพันธุ์อู่ทอง 15 ผลงานของ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน 5. วิจัยและพัฒนาเครื่องขัดหนามผลสละสำหรับการส่งออก ผลงานของ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม 6. การพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์พืชและสินค้าพืชดัดแปลง พันธุกรรมตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 เพื่อการบริการ อย่างมีประสิทธิภาพ ผลงานของ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
นางสาวเสริมสุข กล่าวอีกว่า กรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสำคัญต่อการ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย และพัฒนาวิชาการเกษตรด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพืช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืช เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด การพัฒนาเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านพืชและเครื่องจักรกลการเกษตรสู่ กลุ่มเกษตรกร รวมทั้งวิจัยเชิงรุกที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อมได้ทันสถานการณ์ เร่งรัดวิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่การผลิต ส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อผลิตพืช ปัจจัยการผลิต และผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มและตอบสนองความต้องการของตลาด ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนากับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและ ต่างประเทศอย่างเป็นระบบ