โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ถ้าโลกหวังที่จะให้มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมันไม่ใช่เรื่องของความเพียงพอสำหรับรถยนต์ และการทำให้โรงงานสะอาด การเลี้ยงวัว (ปศุสัตว์)และการเพาะปลูก ก็จะต้องทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน
นั่นคือข้อสรุปพื้นฐานที่ได้จากการศึกษาวิจัยชิ้นใหม่ (5 ธันวาคม) โดย World Resources Institute (สถาบันทรัพยากรโลก) .ซึ่งได้ออกมาเตือนว่าระบบการทำการเกษตรของโลกจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอแก่คนนับพันล้านคน
จากแนวโน้มในปัจจุบันผู้ทำการศึกษาวิจัยได้คำนวณว่าโลกจะต้องผลิตแคลอรี่เพิ่มมากขึ้นอีกร้อยละ 56 ในปี 2593 เมื่อเทียบกับปี 2553และหากเกษตรกรและเจ้าของแปลงต้องการทำให้ถึงเป้าหมายดังกล่าวซึ่งในอดีตมักจะทำโดยการบุกล้างทำลายป่า ก็จะต้องใช้พื้นที่ป่ามากเป็น 2 เท่าของพื้นที่ประเทศอินเดีย
ในรายงานยังระบุว่า การผลิตแคลอรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 56 โดยไม่ต้องขยายที่ดินเพื่อเกษตรกรรมคงจะเป็นไปได้ยาก ถ้าหากมีอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตพืชลดลงแต่มีหลายข้อเสนอแนะในรายงาน เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ ที่ให้ผลผลผลิตสูงหรือการป้องกันการพังทลายของดินที่อาจช่วยให้เกษตรกรปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผู้ศึกษาวิจัยได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มทุนวิจัยเพิ่มขึ้นมากในเรื่องของเทคนิคการตัดต่อพันธุกรรมที่จะช่วยให้พืชมีผลผลิตสูงขึ้นนอกจากนี้ยังกระตุ้นให้สร้างข้อบังคับใหม่ที่จะกระตุ้นให้ภาคเอกชนพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างยั่งยืน
ครับ กล่าวโดยสรุป ในเรื่องของการสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศประกอบกับความต้องการอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นในปี 2593 การเกษตรต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยใช้พันธุ์พืชที่พัฒนามาจากการใช้เทคนิคทางพันธุกรรมใหม่ ๆครับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/2018/12/05/climate/agriculture-food-global-warming.html