ชาววัดประดู่บ้านดอนใช้แตนเบียนสู้หนอนหัวดำได้ผล

  •  
  •  
  •  
  •  

ทั้งหนอนหัวดำ แมลงดำหนาม และด้วงแรด ยกทัพถลุงสวนมะพร้าวกว่า 4,300 ไร่ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชาวชุมชนวัดประดู่ รวมหัวใช้ชีววิถีด้วยการนำแตนเบียนที่ผลิตขึ้นเอง พบว่าสามารถกำจัดหนอนหัวดำจนลดลดลงเกินครึ่ง

นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ศัตรูมะพร้าว ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีเนื้อที่ปลูกมะพร้าว 19 อำเภอ เนื้อที่ 164,349.83 ไร่ 14,131 ครัวเรือน พื้นที่ที่ปลูกมากที่ อ.เกาะสมุย อ.เกาะพะงัน และ อ.เมือง ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลของเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีการระบาดศัตรูมะพร้าวที่สำคัญ ได้แก่ หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม และด้วงแรด มีจำนวน 4,319 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.62 ของเนื้อที่ปลูกทั้งหมด ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อย่างไรก็าม ทางกรมส่งเสริมการเกษตร มีแนวทางการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว หากพื้นที่ที่มีการระบาด จะแนะนำให้จัดการด้วยวิธีผสมผสาน พื้นที่เขตติดต่อกับพื้นที่ระบาดให้สำรวจติดตามและเฝ้าระวัง อีกทั้งยังมีการจัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน การจัดแปลงเรียนรู้ และการรณรงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนอย่างทั่วถึง

นายลักษณ์ กล่าวอีกว่า ที่ชุมชนวัดประดู่ ต.วัดประดู่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธ ก็อีกตัวอย่างหนึ่งของชุมชนที่มีการใช้ชีววิถีในการแก้ไขปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำในมะพร้าว ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการให้ชุมชนนำเอาแตนเบียนที่ผลิตขึ้นเอง มาใช้แก้ไขปัญหาหนอนหัวดำ โดยในปีที่ผ่านมาทางชุมชนได้ผลิตแตนเบียนภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้แตนเบียนทั้งสิ้น 1,200,000 ตัว จึงได้มอบให้สมาชิกเจ้าของสวนมะพร้าวที่ได้รับผลกระทบ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร กล่าวด้วยว่า จากการพูดคุยกับผู้นำชุมชนทราบว่า การแก้ไขปัญหาได้ผลดีเป็นอย่างมาก จำนวนหนอนหัวดำลดจำนวนลงไปกว่าครึ่ง อีกทั้งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังเป็นการดำเนินการที่มีต้นทุนต่ำอีกด้วย กระนั้นถือเป็นการให้พี่น้องเกษตรกรเห็นความสำคัญของการใช้ชีววิถีในการควบคุมโรคระบาดของพืช

[adrotate banner=”3″]

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรจะประเมินผลการดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 และจะมีการนำเสนอความก้าวหน้าในการประชุม ครม. อีกด้วย ทั้งนี้ จากการประเมินผลในเบื้องต้น ถ้ากระทรวงเกษตรฯ สามารถรณรงค์ให้เกษตรกรใช้ชีววิถีมากกว่าสารเคมีมากขึ้น อาจจะมีการใช้สุราษฎร์ธานีโมเดลไปเผยแพร่ในจุดอื่น ๆ ที่เผชิญกับวิกฤตการระบาดของศัตรูพืชได้อีกด้วย