
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แจ้งข่าวดี ไทยมี Lab สำหรับรับรองสาร Basic Yellow 2 ในทุเรียนเพิ่มรวมเป็น 8 แห่ง ย้ำฤดูกาลผลิตทุเรียนภาคตะวั นออกมี Lab เพียงพอ สามารถให้บริการมากกว่า 2,000 ตัวอย่างต่อวัน
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่ าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้วางมาตรการตรวจเข้ม Set Zero สารปนเปื้อนในผลไม้ เพื่อยกระดับคุ ณภาพและความปลอดภัยผักผลไม้ ไทยสร้างความมั่นใจตลาดส่งออก พร้อมสั่งการให้กรมวิ ชาการเกษตรเตรียมความพร้ อมการตรวจรับรองสาร Basic Yellow 2 (BY2) ในทุเรียนสดของห้องปฏิบัติ การทดสอบทุเรียนส่ งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บตั วอย่าง การขนส่งตัวอย่าง วิธีวิเคราะห์ตามมาตรฐานพิธี สารไทย – จีน

กรมวิชาการเกษตรขอแจ้ งข่าวดีว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีห้องปฏิบัติ การทดสอบสาร BY2 เพิ่มเติมอีก 2 แห่งที่มี ความสามารถในการตรวจสอบและรายงา นผลการทดสอบ ที่ได้ผ่านการพิจารณาและได้รั บความเห็นชอบจากสำนักงานศุ ลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) แล้ว ได้แก่ บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ยูโรฟินส์ ฟู๊ด เทสติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ที่สามารถให้บริการทดสอบตัวอย่ างเพิ่มเติมได้อีก 150 ตัวอย่างต่อวัน ทำให้ไทยมีห้องปฏิบัติ การทดสอบสาร BY2 เพิ่มเติมจากเดิม 6 ห้องปฏิบัติการ (ทดสอบได้ 670 – 1,000 ตัวอย่างต่อวัน) รวมเป็น 8 ห้องปฏิบัติการ ซึ่งในขณะนี้รวมทดสอบตัวอย่ างได้ 820 – 1,200 ตัวอย่างต่อวัน
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 กรมวิชาการเกษตร ได้เชิญห้องปฏิบัติการที่ได้รั บการยอมรับจาก GACC และห้องปฏิบัติการที่มีศั กยภาพมาประชุมเตรียมความพร้อม ในการสุ่มเก็บตัวอย่าง การทดสอบแคดเมียม และ BY2 ในทุเรียนสดส่งออกไปสาธารณรั ฐประชาชนจีน โดยมีแผนการที่ จะขยายความสามารถในการทดสอบเพิ่ มขึ้นในช่วงฤดูกาลผลิตทุเรี ยนของภาคตะวันออก ซึ่งยืนยันว่าสามารถให้บริ การทดสอบตัวอย่างตรวจสอบสาร BY2 และสารแคดเมียม ได้มากกว่า 2,000 ตัวอย่างต่อวัน อีกทั้งยังได้หารือเพิ่มเติมร่ วมกับห้องปฏิบัติการทดสอบอื่น ๆ อาทิ ห้องปฏิบัติการของสถาบันการศึ กษาต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้ อมในการทดสอบสาร BY2 สำหรับทุเรียนสดส่งออกไปจีนในช่ วงฤดูกาลผลผลิตต่อไปด้วย

“กรมวิชาการเกษตร ขอให้ความมั่นใจในศั กยภาพการตรวจวิเคราะห์ของห้ องปฏิบัติการเอกชน ในช่วงที่ผลผลิตทุเรี ยนออกมาในปริมาณมาก ตั้งแต่กระบวนการเก็บตัวอย่าง การทดสอบในห้องปฏิบัติการ จนถึงการรับผลทดสอบ สามารถรองรับผลผลิตได้อย่างต่ อเนื่อง และประเด็นสำคัญต้องเป็นห้องปฏิ บัติการ (Lab) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และได้รับความเห็นชอบจาก GACC ประเทศจีน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กั บผู้บริโภคชาวจีนถึงคุ ณภาพและความปลอดภัยของทุเรี ยนไทยที่มีคุณภาพ รวมถึงต้องมีการบริหารจั ดการการผลิตทุเรียน ตลอดห่วงโซ่การผลิต ทั้งในสวน ตลาด โรงคัดบรรจุ การสุ่มเก็บตัวอย่าง การเตรียมตัวอย่างห้องวิเคราะห์ การรายงานผลการทดสอบ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่ างมีประสิทธิภาพ” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว