บทสรุปงานครบ 20 ปีสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพฯ “การปรับแต่งจีโนมพืช” อีกหนึ่งทางเลือกสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง (มีคลิป)

  •  
  •  
  •  
  •  

สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพฯ ฉลองครบรอบ 20 ปี ระดมมันสมองนักวิชาการ-หน่วยงาน เปิดเวทีเสวนา “การปรับแต่งจีโนมพืชเพื่อรับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง” เพื่อนำเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ว่าด้วยการปรับแต่งยีนพืชสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาสที่ทำให้เกิดภาวะแล้ง น้ำท่วม ดินเค็ม แมลงศัตรูพืชและโรคพืชระบาด หลังจากที่รัฐบาลไฟเขียวให้ประเทศไทยขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยี Gene Editing ได้ ยืนยันมีความปลอดภัยสูงไม่ใช่การตัดต่อข้ามสายพันธุ์เหมือน GMOs

ผ่านไปด้วยดีงานเสวนาใหญ่ประจำปี 2567 หัวข้อ “การปรับแต่งจีโนมพืชเพื่อรับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง และเพิ่มคุณภาพ รวมทั้งการกำกับดูแล: กรณีศึกษา อ้อย มะละกอ และฟ้าทะลายโจร” ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 และในวาระโอกาส ครบรอบ 20 ปีแห่งการก่อตั้งสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ โรงแรม มารวย การ์เด้น จตุจักร กทม.โดยการเสวนาดังกล่าวเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยที่มีความก้าวหน้าและมีศักยภาพที่จะถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ และนำเสนอแนวทางการกำกับดูแลเมื่อต้องนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป

สำหรับวิทยากรที่ร่วมเสวนาในครั้งนี้ประกอบด้วย รศ.ดร.สนธิชัย จันทร์เปรม ประจำภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน พูดถึงกรณีศึกษาอ้อย ,ดร.ปิยนุช ศรชัย จากศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน พูดถึงกรณีศึกษาฟ้าทะลายโจร ส่วน ผศ.ดร.อนงค์ภัทร สุทธางคกูล จากภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร พูดถึงกรณีศึกษามะละกอ และ ดร.ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์ จากกรมวิชาการเกษตรเป็นต้น ดำเนินรายการโดย นายวิชา ธิติประเสริฐ

ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต นายกสมาคมเทคโนโลยรชีวภาพสัมพันธ์ กล่าวว่า การผลิตพืชในปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้ความเข้มข้นของคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นจนเกินระดับสูงสุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้เกิดภาวะภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น บางปีน้ำท่วม และตามมาด้วยดินเค็ม รวมทั้งเกิดการระบาดของศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตพืชและคุณภาพลดลง ซึ่งนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางอาหารทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำได้โดยการพัฒนาพืชให้ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การพัฒนาพันธุ์พืชทนแล้งหรือทนเค็ม รวมทั้งพันธุ์พืชที่ต้านทานต่อศัตรูพืช ด้วยเทคโนโลยีปรับแต่งจีโนม หรือยัน ซึ่งจัดเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชะลอและลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตพืช รวมถึงการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้การปรับปรุงพันธุ์พืชทำได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ มากกว่าวิธีการปรับปรุงพันธุ์ตามปกติ

“ถือว่าโชคดี หลังจากที่เราเรียกร้องมา 20 ปีที่ให้รัฐบาลผ่อนปรนเทคโนโลียีชีวภาพเกษตร เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรของไทยให้ก้าวหน้าทันกับสถานการโลก ปรากฏว่ารัฐบาลที่มา (ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในขณะนั้น)  ได้ให้ความสำคัญกับเทศโนโลยีชีวภาพเกษตรสมัยใหม่ที่เรียกว่า เทคโนโลยี Gene Editing คือการปรับแต่งยีน เพื่อรองรับภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วและรุนแรง ปีนี้ ครบรอบ 20 ปีแห่งการก่อตั้งสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ จึงจัดเสวนาเรื่อง “การปรับแต่งจีโนมพืชเพื่อรับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง” ขึ้นมา ” ดร.นิพนธ์ กล่าว

สำหรับการปรับแต่งจีโนม คือ การปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขสารพันธุกรรมที่อยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้มีลักษณะที่ต้องการ เช่น การปรับแต่งจีโนมในมะเขือเทศ เพื่อให้มีสารกาบาในปริมาณที่สูงกว่ามะเขือเทศทั่วไป 4 – 5 เท่า ส่วนเทคนิคที่นิยมใช้ในการปรับแต่งจีโนม คือ ระบบ CRISPR/Cas9 ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่นำมาใช้ในการแก้ไขยีนเป้าหมาย และได้ถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจหลายชนิด ทำให้พืชมีลักษณะที่ดีทางการเกษตร (รายละเอียดในคลิป)

ด้านดร.ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์ จากกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เทคโนโลยีปรับแต่งจีโนม ไม่มียีนถ่ายฝากจากสิ่งมีชีวิตอื่น จึงไม่จัดว่าเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือ พืชจีเอ็มโอ และมีความปลอดภัยสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ เทคโนโลยีดังกล่าว จะใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็น Seed hub ซึ่งเทคโนโลยีปรับแต่งจีโนมจะช่วยยกระดับรายได้ 3 เท่าใน 4 ปี ของเกษตรกรไทยอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม ผลสรุปภาพในการเสวนาในครั้งนี้ ต่างเห็นพ้องการว่า เทคโนโลยี Gene Editing หรือการปรับแต่งจีโนม ใช้ได้กับบางพืชเท่านั้นทำง่าย ใช้เวลาน้อย ต้นทุนไม่สู่เมือเทียบกับเทคโนโลยรว่าด้วยการตัดแต่งพันธุกรรม หรือพืชจีเอ็มโอ ที่ต้องใช้เวลาและทุนสูงและมีหลายประเทศที่ไม่ยอมรับเป็น

นอกจากที่สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “การปรับแต่งจีโนมพืชเพื่อรับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง และเพิ่มคุณภาพ รวมทั้งการกำกับดูแล: กรณีศึกษา อ้อย มะละกอ และฟ้าทะลายโจร”แล้ว มีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้ก่อตั้งสมาคม ซึ่งได้แก่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สุพัฒน์ อรรถธรรม และ คุณ ดรุณี เอ็ดเวิร์ดส และผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสมาคม ได้แก่ Ms. Sonny P. Tababa (CropLife Asia) และ คุณ วิชา ธิติประเสริฐ ที่ปรึกษาสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ด้วย

หมายเหตุ : ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล์ baathailand@yahoo.com