คณะสิ่งแวดล้อม มก.จัดอบรม “มารู้จัก CARBON FOOTPRINT เตรียมพร้อม SMEs ในยุคโลกเดือด”

  •  
  •  
  •  
  •  

สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฯ ร่วมกับ วีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มก. และ องค์การบริหารจัดการก๊าซกระจก ขอเชิญผู้สนใจเข้ารับการอบรม “ มารู้จัก CARBON FOOTPRINT เตรียมพร้อม SMEs ในยุคโลกเดือด”

สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ บริษัทวีกรีน เคยู จำกัด วีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ องค์การบริหารจัดการก๊าซกระจก จึงได้จัดการฝึกอบรมในหัวข้อ “มารู้จัก CARBON FOOTPRINT เตรียมพร้อม SMEs ในยุคโลกเดือด” ขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00–13.00 น. ณ โรงแรม อัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

วัตถุประสงค์เพื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้เตรียมตัวรับมือกับเรื่อง Carbon Footprint, Carbon Neutrality, Net Zero รวมทั้ง ข้อกำหนดตามกฏหมายของพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการอบรมครั้งนี้ เหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมให้กับภาคเอกชน ได้แก่บุคคลากรระดับปฏิบัติการของ SMEs เช่น ฝ่ายสิ่งแวดล้อม พลังงาน วิศวกรรม ซ่อมบำรุง อาคารและยานพาหนะ ผลิต วิจัยและพัฒนา บัญชี จัดซื้อ ฯลฯ ภาครัฐ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ตลอดจนเกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบต้นทาง ผู้ประกอบการอื่น ๆ และผู้สนใจทั่วไป

โดยมีค่าลงทะเบียน (รวมอาหารกลางวัน) คนละ 500 บาท (300 บาทสำหรับนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ทั้งนี้ สามารถลงทะเบียนโดยสแกน QR code ที่ปรากฏบนโปสเตอร์

ทั้งนี้จากความตื่นตัวในการรับมือกับปัญหาโลกร้อน ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงตั้งเป้าหมายเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon Neutrality) และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) และหันมาใช้มาตรการทางการค้า เพื่อบีบให้ประเทศคู่ค้าหามาตรการและดำเนินการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากสาเหตุดังกล่าว ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมพร้อมในการรับมือกับมาตรการเหล่านี้ โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon footprint) มีความจำเป็นอย่างมากในยุคโลกเดือด

เพื่อให้ทันต่อการประกาศเป้าหมายเข้าสู่ carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ. 2050 และ Net Zero ภายในปี 2065 ของประเทศไทย ผู้ประกอบการควรเตรียมพร้อมในจัดทำรายงานประจำปี ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (CFO : Carbon Footprint of Organization) ที่ผ่านการทวนสอบ (Verification) ปรับตัวเพื่อลด GHG ทั้งในกระบวนการผลิตโดยตรงและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในระยะยาว อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต เครื่องจักร รวมทั้งการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อลด GHG

รวมทั้ง การเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อคู่ค้าที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานในการขอรับรองและขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (CFP: Carbon Footprint of Product)

ข่าวโดย… ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์