ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล
สทนช. บูรณาการวางแผนจัดสรรน้ำรองรั บมหาสงกรานต์ 2567 เน้นทุกแหล่งท่องเที่ยวที่ จะมีการใช้น้ำเพิ่มขึ้นและมีเพียงพอ เผยผลบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้ง ปี 2566/67 ช่วยลดพื้นที่ประสบภัยแล้ง พร้อมการันตีมีน้ำเพี ยงพอตลอดฤดูแล้งนี้ เร่งเดินหน้าเตรียมพร้อมรับมื อฤดูฝนที่จะมาถึง กำชับหน่วยงานเพิ่มความแม่ นยำคาดการณ์ฝนและเร่ งตรวจสอบและซ่ อมแซมอาคารชลศาสตร์ทั่วประเทศ
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ผลการประชุมติ ดตามและประเมินสถานการณ์น้ำ ประจำสัปดาห์ เมื่อวันนี้ 10 เม.ย. 67 ณ อาคารจุฑามาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเห็นว่า ขณะนี้ความรุนแรงที่เกิ ดจากผลกระทบของสถานการณ์เอลนี โญน้อยลง โดยในระยะนี้มีโอกาสจะเกิดพายุ ฤดูร้อน ส่งผลให้มีฝนตกมากขึ้นหลายพื้ นที่ ประกอบกับกรมฝนหลวงและการบิ นเกษตร ได้ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงเพื่ อเติมน้ำในพื้นที่รับน้ำ ซึ่งจะทำให้มีน้ำไหลลงอ่างเก็ บน้ำเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ปริมาณน้ำต้นทุนในแหล่งน้ำ ขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่ วประเทศล่าสุด มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 47,193 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 57% ของความจุ โดยที่ผ่านมา สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่ วมบูรณาการประเมิ นและวางแผนการจัดสรรน้ำ พร้อมทั้งเก็บรักษาปริมาณน้ำ ในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะมีปริ มาณน้ำต้นทุนเพียงพอสำหรั บความต้องการในทุกภาคส่วน รวมถึงน้ำที่จะใช้ ในเทศกาลสงกรานต์ 2567 หรือ “Maha Songkran World Water Festival 2024” ที่จะทยอยจัดในจังหวัดต่าง ๆ ตลอดเดือนนี้ ตามที่รัฐบาลโดยคณะกรรมการพั ฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ตั้งเป้าจะผลักดันงานสงกรานต์ ไทยให้ยิ่งใหญ่เป็ นงานเทศกาลระดับโลก และสร้างรายได้เข้าประเทศมูลค่ ามหาศาล
สำหรับการใช้น้ำในช่วงสงกรานต์ ปีนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นแหล่ งท่องเที่ยวที่สำคัญในทุกภูมิ ภาค และแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเกาะ ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณการใช้น้ำ เพิ่มขึ้นในทุกแห่ง สทนช. ได้บูรณาการประสานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกำหนดแผนรองรับการใช้ น้ำ รวมทั้งได้จัดหาแหล่งน้ำสำรอง และเตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ เครื่องมือ เครื่องจักร เช่น การติดตั้งจุดสูบน้ำแบบเคลื่ อนที่ ฯลฯ การันตีได้ว่าจะสามารถสนั บสนุนน้ำให้แก่กิจกรรมการท่ องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวได้ โดยไม่ขาดแคลน รวมทั้งขอยืนยันให้ประชาชนมั่ นใจว่าจะมีปริมาณน้ำเพี ยงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้อย่างแน่ นอน ทั้งนี้ สทนช. จะยังคงบริหารจัดการน้ำต้นทุนที่ มีอยู่อย่างรอบคอบต่อเนื่ องไปจนถึงฤดูฝน เพื่อให้มีปริมาณน้ำสะสมในวันที่ 1 พ.ย. 67 มากที่สุด สำหรับการใช้น้ำในฤดูแล้งปีหน้ า
ดร.สุรสีห์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้เหลือระยะเวลาในช่วงฤดู แล้งอีกไม่นานนัก โดย สทนช. ได้ติดตามประเมินผลการดำเนิ นงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตาม 9 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 อย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้มีการลงพื้นที่ ทำงานเชิงรุกเพื่อหาแนวทางป้ องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่เสี่ ยงขาดแคลนน้ำ ควบคู่ไปกับการรณรงค์ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน ซึ่งประสบผลสำเร็จด้วยดี ทำให้ในปีนี้มีพื้นที่ประสบภั ยแล้งลดลง ทุกภาคส่วนได้รับการจัดสรรน้ำที่ เป็นธรรมและพอเพียง โดยการประกาศเขตการให้ความช่ วยเหลือฯ ภัยแล้ง ปัจจุบันมีเพียง 3 จังหวัด ได้แก่ จ.กาญจนบุรี จ.ชลบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดย จ.นครสวรรค์ ได้ยุติสถานการณ์ภัยแล้งแล้ว
ในส่วนของสถานการณ์คุณภาพน้ำ ในแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นข้อกั งวลของประชาชนจากกรณีรถบรรทุ กสารเคมีพลิกคว่ำ ใน สปป.ลาว ทำให้กรดซัลฟิวริกไหลลงสู่แม่น้ำ คานที่เป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำ โขงตอนล่าง สทนช. ในฐานะสำนักเลขาธิ การคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติ ไทยได้ประสานงานกับสำนั กงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่ น้ำโขง (MRCS) และ สปป.ลาว อย่างใกล้ชิด รวมทั้งประสานงานกับกรมควบคุ มมลพิษเพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำ พร้อมออกประกาศเฝ้าระวังเพื่ อแจ้งเตือนประชาชน ทั้งนี้ สปป.ลาว ได้ดำเนิ นการตามมาตรการตอบสนองภาวะฉุ กเฉินในพื้นที่
โดยเจ้าหน้าที่ได้บังคับใช้ตั้ งแต่วันแรกที่เกิดเหตุ เช่น การสร้างแนวป้องกันน้ำ การใช้สารเพื่อสร้างสมดุ ลความเป็นกรด-ด่าง ฯลฯ มีผลในการควบคุมสารเคมีที่รั่ วไหลภายในคลอง/ทางระบายน้ำ/ร่ องน้ำ และป้องกันการรั่วไหลลงสู่แม่น้ำ คานได้ โดยขณะนี้ประเทศไทยได้รับการแจ้ งยืนยันจาก MRCS แล้วว่า เหตุดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อคุ ณภาพน้ำข้ามพรมแดนในแม่น้ำ โขงตอนล่างที่ครอบคลุมถึงพื้นที่ ประเทศไทยอย่างแน่นอน