“ธรรมนัส – อนุชา” ยังกอดคอลงพื้นที่ ติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองระบายชัยนาท – ป่าสัก เพิ่มศักยภาพบริหารจัดการน้ำ มั่นใจช่วยสำรองน้ำเพื่อการเกษตร เยียวยาภัยแล้ง
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองระบายชัยนาท – ป่าสัก โดยมี นายสมบัติ อำนาคะ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ กลุ่มผู้ใช้น้ำจังหวัดชัยนาท เข้าร่วม ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ ตำบลวัดโคก อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้เกิดอุทกภัยขึ้นบ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมชลประทาน จึงได้จัดทำแผนบรรเทาอุทกภัยเจ้าพระยาตอนล่าง จำนวน 9 แผน โดยมีมติเห็นชอบจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 ซึ่งโครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท – ป่าสัก เป็น 1 ใน 9 แผนงาน เป็นงานปรับปรุงคลองชัยนาท – ป่าสัก โดยมีแผนงานก่อสร้าง 6 ปี (2568-2573) หากโครงการนี้แล้วเสร็จจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาในภาพรวมของทั้งลุ่มน้ำได้ โดยสามารถตัดยอดน้ำหลากที่ผ่านเขื่อนเจ้าพระยาได้สูงถึง 930 ลบ.ม./ วินาที
ในส่วนของความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองระบายชัยนาท – ป่าสัก ประกอบด้วยบานระบายจำนวน 4 ช่อง สามารถระบายน้ำสูงสุดได้ 930 ลบ.ม./วินาที สามารถรับนํ้าเข้าคลองชัยนาท-ป่าสักในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากธรณีประตูมีระดับต่ํากว่าประตูระบายน้ำมโนรมย์ ช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนนํ้าในพื้นที่ โครงการฯ มโนรมย์ ช่องแค โคกกระเทียม เริงราง และโครงการชลประทาน ลพบุรีบางส่วน และเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการนํ้าท้ังในระหว่างก่อสร้างและหลัง ก่อสรา้งของโครงการคลองระบายน้ำ หลากชัยนาท-ป่าสัก มีแผนงานก่อสร้าง 4 ปี (2568-2571) วงเงินงบประมาณ 650 ล้านบาท โดยขอตั้งงบประมาณในปี พ.ศ.2568 ท้้งนี้ รมว.เกษตรฯ ได้กำชับให้กรมชลประทาน เตรียมความพร้อมและเร่งผลักดันโครงการนำเสนอบรรจุในแผนของบประมาณในปี พ.ศ.2568 โดยเร็วต่อไป
ด้าน รมช.อนุชา กล่าวว่า ตนพร้อมสนับสนุนและขับเคลื่อนการทำงานตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมที่เกิดขึ้นทุกปี โดยปีนี้ยังคงต้องติดตามสถานการณเอลนีโญที่จะส่งผลกระทบไปจนถึงกลางปี 2567 ซึ่งทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ต้องบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขในระยะยาวอย่างจริงจัง พร้อมย้ำว่า โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองระบายชัยนาท – ป่าสัก แผนงานก่อสร้าง 4 ปี (2568-2571) จะช่วยให้พื้นที่การเกษตรในภาคกลาง มีน้ำใช้ทำการเกษตรช่วงฤดูแล้ง และยังรองรับปริมาณน้ำช่วงฤดูฝนไม่ให้น้ำไหลท่วมพื้นที่ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล อีกด้วย