ธรรมพงศ์ เนาวบุตร
สทนช. เร่งกำกับการใช้น้ำให้เป็ นไปตามแผน หลังมีการจัดสรรน้ำเพิ่มขึ้ นจากการช่วยผลักดันน้ำเค็มในแม่ น้ำและผลกระทบจากการเพาะปลู กนาปรังเกินแผน ย้ำทุกหน่วยงานให้จัดสรรน้ำ ตามลำดับความสำคัญ โดยต้องมีน้ำอุปโภค บริโภค เพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้
นายธรรมพงศ์ เนาวบุตร รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ ยวชาญด้านวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมติ ดตามและประเมินสถานการณ์น้ำ ประจำสัปดาห์ โดยมีนายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่ งชาติ สทนช. เป็นประธานการประชุม ณ อาคารจุฑามาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ปัจจุบันการจัดสรรน้ำของอ่างเก็ บน้ำหลายแห่ง ในช่วงฤดูแล้งปีนี้ มีการจัดสรรเกินกว่าแผนที่ กำหนดไว้ เนื่องจากมีความจำเป็นต้ องระบายน้ำมาช่วยสนับสนุนการผลั กดันน้ำเค็มในบริเวณที่ประสบปั ญหาน้ำเค็มรุกล้ำ เพื่อรักษาคุณภาพน้ำให้อยู่ ในเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งสำหรับการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
ประกอบกับขณะนี้มีการเพาะปลูกพื ชฤดูแล้งเกินกว่าแผนไปจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เพาะปลู กนาปรังในลุ่มน้ำเจ้าพระยา สทนช. จึงได้มอบหมายกรมชลประทานเร่ งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้ าใจกับเกษตรกรไม่ให้มี การเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 เกินแผนที่กำหนด และพิจารณาปรับลดการระบายน้ำให้ อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อกำกับปริมาณการใช้น้ำให้ เป็นไปตามแผน โดยจะมีการติดตามผลการดำเนิ นงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานที่เกี่ ยวข้องในการวางแผนการจัดสรรน้ำ ตามลำดับความสำคัญ คำนึงถึงปริมาณน้ำอุปโภค บริโภค ที่ต้องมีเพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้ เป็นลำดับแรก
สำหรับสถานการณ์น้ำเค็มในแม่น้ำ 4 สายหลัก ได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมี การติดตามเฝ้าระวังเพื่อควบคุ มคุณภาพน้ำอย่างใกล้ชิด ปัจจุบันมีค่าความเค็มอยู่ ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม สทนช. ได้ออกประกาศแจ้งเตือนเฝ้าระวัง ในช่วงระหว่างวันที่ 21 – 25 ก.พ. นี้ มีโอกาสจะเกิดน้ำทะเลหนุนสู งและน้ำเค็มรุกล้ำแม่น้ำ ซึ่ง สทนช. ร่วมกั บกรมชลประทานและการประปานครหลวง ได้เตรียมพร้อมดำเนินการเชิงป้ องกัน โดยเพิ่มการระบายน้ำของเขื่ อนเจ้าพระยา พร้อมทั้งเตรี ยมแผนสำรองในการปฏิบัติ การกระแทกลิ่มความเค็ม หรือ Water Hammer Operation และการลดรอบเวรการส่งน้ำ เพื่อลดโอกาสในการเกิดปัญหาคุ ณภาพน้ำและผลกระทบต่อต่ อประชาชนน้อยที่สุด
นายธรรมพงศ์ กล่าวอีกว่า สทนช. ยังได้ติดตามการแก้ปัญหาในพื้ นที่ประสบภัยแล้งใน 3 จังหวัด ซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำด้ านการเกษตร ตามประกาศเขตการให้ความช่วยเหลื อผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภั ย ได้แก่ อ.เลาขวัญ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ และ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่ งแก้ไขปัญหา ทั้งการลำเลียงน้ำเข้าช่วยเหลือ การสูบน้ำระยะสั้น เป็นต้น พร้อมกันนี้ สทนช. ยังคงมีการลงพื้นที่ตามแผนเพื่ อสำรวจสถานการณ์น้ำในพื้นที่เสี่ ยงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค อย่างต่อเนื่อง
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ ลงพื้นที่ใน จ.แม่ฮ่องสอน และ จ. เชียงใหม่ พร้อมกำหนดแผนงานป้องกันและแก้ ไขปัญหาทั้งในระยะสั้ นและระยะยาว อาทิ การพัฒนาระบบประปาหมู่บ้าน การขุดลอกลำน้ำเพิ่มปริมาณน้ำต้ นทุน เป็นต้น สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่ วนได้กำชับหน่วยงานในการเตรี ยมความพร้อมเสนอโครงการ ผ่านระบบ Thai Water Plan ที่จะเปิดระบบอีกครั้งในช่วงเดื อนเมษายนนี้ นอกจากนี้ ยังได้ติดตามความก้าวหน้ าในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้ นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 2 สาขา ได้แก่ สาขานครราชสีมาและสาขาเกาะพะงัน โดย กปภ.สาขานครราชสีมา จะมีการหารือเพื่อขอรับการจั ดสรรน้ำจากกรมชลประทานเพิ่มเติม และ กปภ.สาขาเกาะพะงัน ซึ่งมีแหล่งน้ำต้นทุนค่อนข้างน้ อย จะมีการเร่งซ่อมแซมระบบผลิตน้ำ ประปาจากน้ำทะเล หรือระบบ R.O. และจะมีการ
ติดตามการให้ความช่ วยเหลืออื่น ๆ อย่างใกล้ชิด
“ในที่ประชุมวันนี้ สทนช. ได้เน้นย้ำในเรื่องการบริหารจั ดการน้ำของอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ อย่างรอบคอบให้อยู่ในระดับเกณฑ์ การบริหารจัดการน้ำ (Rule Curve) โดยพิจารณาการจัดสรรน้ำให้มี ความเหมาะสม รวมทั้งได้มีการปรับเพิ่ มแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ บางแห่ง เช่น เขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งเป็นการระบายน้ำที่สอดคล้ องกับความต้องการใช้น้ำ และเพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ ฝนจากสภาวะลานีญาที่มีแนวโน้ มจะเริ่มต้นในช่วงฤดูฝนนี้ และคาดว่าจะมีปริมาณฝนตกมากกว่ าค่าเฉลี่ย 4 – 8%”นายธรรมพงศ์ กล่าว