กอนช. ชี้สถานการณ์อุทกภัยภาคใต้คลี่ คลายแล้ว ยังเหลือน้ำล้นตลิ่ง 1 พื้นที่ใน จ .ปัตตานี คาดกลับเข้าสู่สภาวะปกติสัปดาห์ นี้ เผยไทยยังคงอยู่ในสภาวะเอลนี โญกำลังแรง ต้องเฝ้าระวังแหล่งน้ำน้ำน้อย 96 แห่งทั่วประเทศ เร่งทำงานเชิงรุกในพื้นที่เสี่ ยงแล้งเพื่อไม่ให้ขาดแคลนน้ำอุ ปโภคบริโภค เตรียมวางแผนบริหารจัดการน้ำปี 67 อย่างรัดกุมยิ่งขึ้น
วันที่ 4 มกราคม 2567 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้ อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กล่าวหลังเป็นประธานการประชุมติ ดตามและประเมินสถานการณ์น้ำ ประจำสัปดาห์ ณ อาคารจุฑามาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 27 ธ.ค. 66 – 3 ม.ค. 67 บริเวณภาคใต้มีพื้นที่ประสบอุ ทกภัย 5 จังหวัด ได้แก่ จ.สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์ในภาพรวมคลี่ คลายลงแล้ว คงเหลือพื้นที่ที่มีน้ำล้นตลิ่ง 1 จุด คือ บริเวณบ้านบริดอ อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี ซึ่งคาดว่าจะกลับเข้าสู่ระดั บปกติภายในช่วง 2-3 วันนี้ โดยศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้ าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ได้บูรณาการการทำงานของทุกหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งแก้ ไขปัญหาอย่างเต็มที่
ขณะนี้ได้มีการปรั บลดการระบายน้ำจากเขื่ อนบางลางลง ช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านแม่ น้ำปัตตานีเข้าสู่บริเวณพื้นที่ บ้านบริดอ พร้อมกันนี้ กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงเหล่าทัพ ได้เร่งเข้าช่วยเหลื อประชาชนในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่ วมขัง โดยเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ และฟื้นฟูที่อยู่อาศัยที่ได้รั บความเสียหาย พร้อมกันนี้ ได้มีการเตรียมรับมือสถานการณ์ ล่วงหน้า เนื่องจากในระยะนี้ภาคใต้ยังมี แนวโน้มมีปริมาณฝนเล็กน้อยถึ งปานกลาง รวมทั้งเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่ มีปริมาณน้ำมากอย่างใกล้ชิด โดยในพื้นที่ภาคใต้มีอ่ างฯขนาดกลางเฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 19 แห่ง โดยแบ่งเป็น อ่างฯ เฝ้าระวังน้ำเกินความจุ 1 แห่ง ได้แก่ อ่างฯคลองแห้ง จ.กระบี่ และอ่างฯเฝ้าระวังน้ำ 80-100% ของความจุ อีก 19 แห่ง อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานยืนยันว่า อ่างฯ ทุกแห่งยังมีความมั่นคงแข็ งแรงสามารถใช้งานได้อย่างเต็ มประสิทธิภาพ
สำหรับสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำทั่ วประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 61,297 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือคิดเป็น 74% ของความจุรวม โดยเป็นน้ำใช้การ 37,085 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 64% ของความจุน้ำใช้การ โดยปัจจุบันประเทศไทยยังเผชิญกั บสภาวะเอลนีโญกำลังแรง ส่งผลให้พื้นที่ ตอนบนของประเทศไทย ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน มีปริมาณฝนน้อยจนถึงไม่มีเลย ขณะเดียวกัน การใช้น้ำตั้งแต่ช่วงต้นฤดูแล้ งที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ เริ่มมีจำนวนลดน้อยลง ซึ่งจากการประเมินแหล่งน้ำ ขนาดใหญ่-ขนาดกลาง พบว่า มีแหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 96 แห่ง โดยเป็นอ่างฯ ขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างฯสิริกิติ์ อ่างฯกระเสียว และอ่างฯคลองสียัด ซึ่งจะมีการเฝ้าระวังอย่างต่ อเนื่องและบริหารจัดการน้ำอย่ างรอบคอบเพื่อให้เพียงพอต่ อความต้องการใช้น้ำในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำ ในเขตชลประทานขณะนี้ ยังคงไม่น่ากั งวลมากนัก แต่พื้นที่นอกเขตชลประทานจะต้ องติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ สทนช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้ องประเมินวิเคราะห์เพื่อชี้เป้ าพื้นที่ที่มีความเสี่ ยงขาดแคลนน้ำ และวางแผนลงพื้นที่เพื่อสำรวจวิ เคราะห์ปัญหาในพื้นที่ และเร่งหาแนวทางแก้ไขเบื้องต้น โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปแล้ วในหลายจังหวัด อาทิ จ.สุโขทัย จ.พิจิตร จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.ศรีสะเกษ เป็นต้น โดยมีการสำรวจแหล่งน้ำผิวดิ นในบริเวณใกล้เคียงเพื่อสูบเติ มน้ำเข้าสู่แหล่งน้ำที่มีน้ำน้ อย โดยเฉพาะแหล่งน้ำเพื่อการอุ ปโภคบริโภค
ทั้งนี้ในสัปดาห์นี้จะมีการลงพื้นที่ เพิ่มเติมใน จ.กาญจนบุรี จ.มุกดาหาร จ.อำนาจเจริญ รวมถึงจังหวัดอื่น ๆ ตามแผนที่วางไว้ต่อไป ทั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่ใดที่ได้รั บความเดือดร้อน สามารถแจ้งข้อมูลเข้ามายัง สทนช. ภาค 1-4 หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อ สทนช. จะได้บูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ เข้าช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเพื่ อให้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศมีปริ มาณน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอในช่ วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นไปตาม 9 มาตรการรับมือฤดูแล้งปี 2566/67 เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาให้ ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุ ด
ดร.สุรสีห์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของสถานการณ์น้ำในเขตพั ฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC นั้น ในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมาได้มี แผนการสูบผันน้ำเข้าสู่แหล่งน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำต้นทุนไว้ให้ได้ มากที่สุด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะมีปริ มาณน้ำรองรับได้เพียงพอจนถึงช่ วงเดือน มิ.ย. 67 ซึ่งการดำเนินการก็เป็ นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ในขณะที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา พบว่า ปัจจุบันมีการเพาะปลูกเกินกว่ าแผนที่กำหนดไว้เล็กน้อย ในวันนี้จึงมอบหมายให้ กรมชลประทานพิจารณาแนวทางบริ หารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้เกิ ดความสมดุล รวมถึงสร้างความเข้าใจกั บประชาชนเพิ่มเติม พร้อมกันนี้ได้มอบหมายกรมอุตุนิ ยมวิทยา และ สสน. ในการคาดการณ์ทิศทางปริ มาณฝนและปริมาณน้ำในปี 2567 ในลักษณะเทียบเคียงกับปีที่ผ่าน ๆ มา โดยจะนำข้อมูลดังกล่าวมาร่วมกั นวางแผนบริหารจัดการน้ำในปีนี้ ให้รัดกุมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า สภาวะเอลนีโญในประเทศไทยมี โอกาสประมาณ 60% ที่จะกลับเข้าสู่สภาวะเป็ นกลางในช่วงเดือน เม.ย. – มิ.ย. 67 นี้