กรมชลฯ เร่งเก็บกักน้ำฝนสุดท้ายรับมือฤดูแล้ง เผยล่าสุดมีน้ำต้นทุนในอ่างฯทั่วไทยกว่า 81%

  •  
  •  
  •  
  •  

แฟ้มภาพ

กรมชลฯสรุปสถานการณ์น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำขยนาดใหญ่และขนาดกลางกักเก็บไว้กว่า 81 % ของคววามจุฯทั้งหมด เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยามีน้ำสำรองกว่าร้อยละ 72 สั่งทุกหน่วยงานในสังกัดเร่งเก็บกักช่วงฝนสุดท้ายรับมือฤดูแล้ง ขณะที่าคใต้เตรียทรับมือฤดูฝนเต็มพิกัดแล้ว

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 กรมชลประทาน รายงานยถึงสถานการณ์น้ำว่า ปัจจุบัน (16 พ.ย. 66) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 61,586 ล้าน ลบ.ม. (81% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้ 37,644 ล้าน ลบ.ม. (72% ของความจุอ่างฯรวมกัน)  เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 18,381 ล้าน ลบ.ม. (74% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) ปริมาณน้ำใช้การได้ 11,685 ล้าน ลบ.ม. (64% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) จนถึงขณะนี้มีการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 66/67 ทั้งประเทศไปแล้ว 1,915 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีจัดสรรไปแล้ว 309 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของแผนฯ

ทั้งนี้  ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก รวมทั้งภาคกลาง ปริมาณฝนเริ่มลดลงแล้ว  จึงได้กำชับไปยังโครงการชลประทานในพื้นที่ตอนบนของประเทศ เร่งเก็บกักน้ำในช่วงปลายฝนให้ได้มากที่สุด พร้อมวางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่และเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง  เพื่อรับมือสภาวะเอลนีโญที่อาจจะส่งผลกระทบในปีถัดไป  รวมทั้งเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ  จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือประจำจุดเสี่ยง

ที่สำคัญให้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานในท้องถิ่น  กลุ่มผู้ใช้น้ำ  ทำการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงสถานการณ์น้ำและแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เกษตรกรและประชาชนรับรู้รับทราบอย่างต่อเนื่อง  พร้อมปฏิบัติตาม 9 มาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2566/67 ที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เห็นชอบอย่างเคร่งครัด  เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอไปตลอดช่วงฤดูแล้ง

สำหรับพื้นที่ภาคใต้ที่อยู่ในช่วงฤดูฝน ขอให้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด นำสถิติปริมาณฝน และแบบจำลองสถานการณ์ฝนมาเป็นแนวทางในการวางแผนบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ควบคู่ไปกับการเก็บกัก พร้อมดำเนินการตามมาตรการที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) และกรมฯ กำหนดอย่างเคร่งครัด  เพื่อให้สามารถลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด