“พลเอก ประวิตร” นั่งหัวโต๊ะ ถกหน่วยงานด้านน้ำภายใต้ กอนช. เกาะติดความก้าวหน้า 12 มาตรการรับมือฤดูฝน เตรียมชง ครม.คลอด 3 มาตรการเพิ่มเติมรับมือวิ กฤตอากาศแปรปรวน หลังพบพื้นที่เสี่ยงท่วม-แล้ งจาก“เอลนีโญ”หลายพื้นที่
วันที่ 16 สิงหาคม 2566) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำ แห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุ มกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2566 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ ารอยต่อ 5 จังหวัดและประชุมผ่านสื่ออิเล็ กทรอนิกส์ โดยมี นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน เป็นต้น เข้าร่วมการประชุม
พลเอก ประวิตร เปิดเผยว่า จากอิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนี โญที่เกิดขึ้นในขณะนี้ รัฐบาลมีความห่วงใยต่อพี่น้ องประชาชนในพื้นที่ที่กำลั งประสบปัญหาเป็นอย่างมาก เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกน้ อยในหลายพื้นที่ และแหล่งน้ำมีปริมาณน้ำจำกัด โดยเฉพาะน้ำอุปโภคบริโภค แม้ว่าปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ ยวข้องได้ดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนอย่างต่อเนื่ อง ดังนั้น ที่ประชุมจึงให้ความเห็นชอบพิ จารณา (ร่าง) มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 เพิ่มเติมตลอดช่วงฤดูฝนเพื่ อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุ มคณะรัฐมนตรีครม. เพื่อทราบ และให้หน่วยงานถือปฏิบัติต่อไป เพื่อทำงานในเชิงป้องกั นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกั บประชาชนจากความแปรปรวนของสภาพภู มิอากาศได้ทันต่อสถานการณ์ ประกอบด้วย 3 มาตรการ ได้แก่
มาตรการที่ 1 จัดสรรน้ำให้เป็นไปตามลำดั บความสำคัญที่คณะกรรมการลุ่มน้ำ กำหนด โดยมอบหมายให้ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ งประเทศไทย (กฟผ.) วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดั บความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่ มน้ำแต่ละลุ่มน้ำกำหนด เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ
มาตรการที่ 2 ควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปีต่ อเนื่อง โดยมอบหมายหน่วยงานที่รับผิ ดชอบประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกร เพื่อควบคุมไม่ให้มีการเพาะปลู กข้าวนาปีต่อเนื่อง
มาตรการที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ แบ่งเป็น
1.การใช้น้ำภาคการเกษตร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริ มการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่ อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ ในพื้นที่ 2 การประหยัดน้ำของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชน สทนช. และทุกหน่วยงานภาครัฐ วางแผนลดการใช้น้ำของหน่ วยงานภาครัฐ พร้อมประชาสัมพันธ์รณรงค์การใช้ น้ำอย่างประหยัดในทุกภาคส่วน ส่งเสริมสนับสนุนให้โรงงานอุ ตสาหกรรมใช้ระบบ 3R เพื่อลดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่ าง ๆ และ 3. ลดการสูญเสียน้ำ ในระบบประปาและระบบชลประทาน โดยการปรับรอบเวรการส่งน้ำให้ สอดรับกับปริมาณความต้องการน้ำ ของพื้นที่ ซึ่งจะดำเนินการในตลอดช่วงฤดูฝน ปี 2566
ด้าน นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมว่า รองนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้ทุ กหน่วยงานร่วมกัน วางแผน และเตรียมพร้อมอย่างต่อเนื่องทั้ งในพื้นที่ที่เสี่ยงประสบภัยน้ำ ท่วม หรือขาดแคลนน้ำจากปริมาณฝนที่ ตกน้อย เพื่อบรรเทาความเดือนร้ อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งได้เน้นย้ำให้ทุกหน่ วยงานเร่งประชาสัมพันธ์สร้ างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ให้รับทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมซึ่งเป็ นไปตามแผนการบริหารจัดการน้ำ 2 ปี ที่ กอนช. กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้ องดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำต้นทุนเหลื อเพียงพอสำหรับใช้ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/67 โดยให้น้ำเพื่อการอุปโภคบริ โภคเป็นอันดับแรก น้ำที่เหลือถึงจะจัดสรรเพื่ อการเกษตรได้
เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีค่ อนข้างจำกัดตามที่กองอำนวยการน้ำ แห่งชาติได้คาดการณ์ปริมาตรน้ำ และปริมาตรใช้การ (ณ วันที่ 1 พ.ย. 66) คาดการณ์ปริมาตรน้ำและปริมาตรน้ำ ใช้การ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง ทั้งประเทศ ปริมาตรน้ำ 49,688 ล้าน ลบ.ม. ปริมาตรน้ำใช้การ 26,142 ล้าน ลบ.ม. เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำ ปี 2565 น้อยกว่า 9,711 ล้าน ลบ.ม.